การสมัครมหาวิทยาลัยอเมริกาแต่ละรอบ

มาว่ากันถึง การสมัคร ในรอบต่างๆของมหาวิทยาลัยในประเทศอเมริกา ซึ่ง Entry นี้ เฉพาะระดับปริญญาตรีเท่านั้นนะจ้ะ ปริญญาโท ถ้าใครอยากได้ ลงคอมเม้นต์ไว้เลยนะ เดี๋ยวจะค้นให้ มีหนังสืออยู่ที่บ้านเป็นปึก

(จริงๆ เหมือนจะมีอะไรที่ละเอียดกว่านี้ แต่เราขอเอาคร่าวๆ เท่าที่รู้ละกัน ถ้าผิดพลาดยังไง ขอโทษด้วยนะคะ)

โดยเราจะแบ่งออกเป็น

1.Early หรือการสมัครล่วงหน้า

2.regular หรือรอบปกติ

3. Rolling หรือรอบเหลือ

เริ่มที่ Early ก่อนดีกว่า……

Early เราอาจรู้จักกันดี เพราะจุฬา-BBA ก็มี ที่ต้องคะแนน SAT หรือ CU-AAT ถึง 1200 ถึงจะยื่นได้ ซึ่งเรียกว่ายื่นปุ๊บก็ติดเลย แต่สำหรับมหาวิทยาลัยในอเมริกา ไม่เหมือนค่ะ เพราะเขาไม่ได้มีคะแนน ขั้นต่ำ เรียกกว่า ถ้าพร้อมก็ยื่นได้เลย เพราะอย่าลืมว่าเขาไมไ่ด้ยื่นแค่ คะแนนเหมือนอินเตอร์เมืองไทย แต่ต้องมีอะไรอีกมากมาย

หาอ่านเพิ่มได้ใน จะสมัครเรียนต่อ University in US ต้องใช้อะไรบ้าง

เรียกว่ากว่าจะรวบรวมเสร็จหมดก็เหนื่อยพอตัว ขนาดเราเพิ่งสมัครเสร็จไปที่เดียวก็……เพลีย แต่สิ่งสำคัญที่แยกคำว่า Early กับ Regular ออกจากกัน ก็คือวันที่เราคลิก Submit application form ค่ะ

ส่วน deadline ของรอบ early เท่าที่สังเกต ถ้าเป็น U ดังๆ ระดับ Top 10-20 ส่วนมากจะหมดเขตกลางเดือน ตุลาคม ส่วน U อื่นๆ จะหมดเขต วันที่ 1 พฤศจิกายน

ซึ่ง Early ก็ยังแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ (อ่านดีๆนะ อันนี้ค่อนข้างเข้าใจยาก)

ตัวที่แบ่งคือมหาวิทยาลัยค่ะ คือมหาวิทยาลัย จะบอกว่า เขาจะรับเป็น Early dicision หรือ Early action

1.Early decision คือเราจะสามารถส่ง Early ได้แค่ที่เดียว(เขาจะเรียกกันว่า blinding) เช่น Syracuse University รับแบบ Early Dicision เราก็สามารถส่งแบบ Early ได้แค่ที่เดียวเท่านั้น และเขาจะมีแบบ Form ให้เซ็นเป็นสัญญาเลยว่า

-ได้สมัครกับเขาที่เดียว …..ห้ามลักไก่สมัครหลายที เด็ดขาด เพราะทุกมหาวิทยาลัย ใน US เขามีติดต่อกัน ถ้าถูกจับได้ ความฝันจะไปเรียนเมืองนอก สลายไปกับสายลมแน่ๆ

-ถ้าได้รับการตอบรับ จะต้องเข้าเรียนที่นี่เท่านั้น พูดง่ายๆก็คือ ถ้า U นี้ตอบรับ เราจะต้องเข้าเรียนทีนี่ ห้ามสละสิทธิ์ ไม่เข้าเรียน หรืออะไรก็ตาม ฉะนั้น การเลือก Early Decision ควรเป็น มหาวิทยาลัย ที่เราชอบ อยากเรียนมากที่สุด

ไม่อย่างนั้นเรียนไปแล้ว ก็ต้องไป transfer เอา วุ่นวายพอสมควร

Early Dicision จะประกาศผลประมาณ ต้นเดือน ธันวา สำหรับคนทีี่่ไม่ติด ก็ต้องรีบทำ application สำหรับที่อื่น เพื่อสมัครรอบ regular กันต่อ แต่ถ้าติดก็อย่าลืม cancel Uni. อื่นที่สมัคร (ในรอบ regular) ด้วยนะจ้ะ

2.Early Action

Early Action เขาจะเรียกกันว่า non-blinding บางที่อาจไม่เรียกชื่อนี้ อย่าง University of Maryland เธอเรียกว่า apply for consideration ชั้นก็งงเธออยู่ตังนาน จนสุดท้าย ก็เข้าใจว่า หมายถึง Early Action นั่นเอง

Early action สามารถสมัครได้หลาย U ค่ะ แต่ Uni นั้น ต้องรับเป็น Early Action นะ เน้น ต้องเป็น Early Action ด้วยกัน

ซึ่งมหาวิทยาลัย ที่ใช้ Early action ก็มากมาย และส่วนมากมหาวิทยาลัย ดังๆ ก็เปลี่ยนมาใช้ early action กันหมด เพราะไม่เป็นการผูกมัดนักเรียนเิกินไป และให้นักเรียนมีโอกาสที่จะเลือก Uni. ได้

Early action จะประกาศผลราวๆ ปลายเดือน มกราคม แต่เรายังไม่ต้องรีบว่าจะตอบรับเข้าเรียนที่นี่รึปล่าว เราสามารถรอจนกว่าเราจะได้รับผลจาก Uni อื่นๆ ที่เราสมัครในรอบ regular ไป เพราะบางทีอาจมีข้อเสนอน่าสนใจ เช่น scholarship ให้เราด้วย

3. Single-Choice Early Action

จริงๆ อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง ใน Early action ค่ะ แต่สำหรับเรา เราว่ามันคือการผสมระหว่าง Early action กับ Decision

ผสมกันยังไง??

ก็ตรงที่ Single-Choice Early Action เนี่ย เขาไม่ได้บังคับค่ะ ว่าถ้าติดที่นี่แล้วต้องเข้าเรียน เรามีสิทธิ์ไปสมัครที่อื่น ในรอบ Regular ได้แต่ ห้าม สมัคร Early action ที่อื่น

พูดง่ายๆ คือ สมัคร Early ได้ที่เดียว แต่ไม่บังคับว่าจะเข้ารึปล่าว

Uni ที่รับแบบนี้ก็เช่น Yale University แต่มีน้อยค่ะ ส่วนมากคือ U Top

ทำไมถึงต้องมี Single-Choice Early Action??

มันมีสาเหตุมาจากพวกนักเรียนที่รักการหว่าน คือ เล่นสมัคร Early Action หมดทุกที่ ใน Uni ดังๆ จนพวกคนที่รับสมัครก็เอ๊ะ! แล้วตกลง พวกเธอสนใจ Uni ชั้นจริงๆ รึปล่าวเนี่ย เพราะการสมัคร Early หมายถึง เราสนใจ Uni เขาเป็นพิเศษ

การตอบรับของ Early

จะมีตอบ 3 แบบ(หรือมากกว่า)

1.คือ Accept

2.Defer หมายถึง เลื่อนผลของเราไปรวมกับรอบ Regular พูดง่ายๆ คือ profile เรายังไม่ได้ ถูกใจเขามาก ฉะนั้น ขอดูเด็กๆ ที่จะสมัครให้หมดก่อน แล้วค่อยเลือก

3.คือ reject ไม่มีใครอยากได้ เราก็ไม่อยาก อย่าส่งมานะ!!


การสมัคร Early น่ะ มีโอกาสมากขึ้นแค่ไหนกันเชียว

เราต้องเข้าใจกันก่อน ว่าการสมัครแบบ Early นั้น แสดงถึงความตั้งใจของเราที่จะเรียนมหาวิทยาลัย นี้แบบ สุดๆ โอกาส หรือ percent ที่จะได้จดหมายตอบรับ จึงมีมากกว่า รอบ regular เป็นธรรมดา

แต่ก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้น ซะทีเดียว ถ้าคะแนนยังไม่พอใจ จะสอบใหม่ essay ยังไม่เสร็จ ถ้าทำแบบลวกๆ ส่งไปก็ไม่ดีแน่ๆ โอกาสทอง จะร่วงโรยแบบต่อหน้าต่อตา

ส่วนมาก เท่าที่ไปส่องๆ มา สมมติ ถ้าเป็น early decision โอกาสตอบรับเป็น 50% regular อาจอยู่ที่ 30 ต้นๆ หรือ 20 ปลายๆ ก็จะกระโดดขึ้นมาประมาณนี้ อต่ถ้าเป็น Early action เปอร์เซนต์ตอบรับจะเพิ่มขึ้นไม่เกิน 10

แต่ข้อเสียของ Early Dicision จะไม่ค่อยเสนอ Scholarship ให้ เราไม่กล้าฟันธงว่า 100 เปอร์เซนต์เลยหรือเปล่า แต่ถ้าคิดจาก common sense ก็ไม่น่าให้ค่ะ

มาต่อกันที่ รอบ Regular

regular ก็ไม่มีอะไรพิเศษ คือการสมัครรอบปกติ Deadline มีตั้งแต่กลางเดือน ธันวา ไปจนถึงต้นเดือน กุมภา ซึ่งนักเรียนส่วนมากก็จะสมัครกันในรอบนี้ จะสมัครกี่ Uni ก็ได้ แต่อย่าลืมว่าทุก Uni มีค่าสมัครหมด ตกอยู่ที่ Uni ละ 60-80 เหรียญ

ประกาศผล ช่วงเดือน มีนา แต่ไม่เกินวันที่ 1 เมษา เราจะมีเวลาตัดสินใจ 1 เดือน ก่อนที่จะตอบรับภายในวันที่ 1 พ.ค.

หลายคนสงสัยว่า วันที่เรากดส่ง ใบสมัคร สำคัญแค่ไหน คำตอบคือ ไม่สำคัญค่ะ แค่ต้อง อยู่ ภายใน Deadline เท่านั้น เน้น เท่านั้น พูดง่ายๆ คือ ถึงคลิกส่งเร็ว หรือช้า ก็ไม่มีผล เพราะกรรมการจะเริ่มอ่าน ใบสมัครต่อเมื่อถึงวันที่ปิดรับสมัครแล้วค่ะ

แล้วถ้าไม่ติด Regular ล่ะ ??

ไปสมัครรอบ Rolling ค่ะ คือ รอบที่ว่าง จากเด็กที่สละสิทธิ์ รอบนี้ เวลาที่ส่งใบสมัครสำคัญมาก เพราะเขาจะพยายามหาเด็กมาให้ครบจำนวนที่เขาต้องการให้ได้เร็วที่สุด ถ้าส่งช้า ก็มีโอกาสน้อยลง

รอบนี้ จะมี บาง Uni เท่านั้นทีเปิด เป็น ระดับกลาง ถึงล่าง พวกตัว Top อย่าง Harvard ไม่มีค่ะ

มาดูพวกที่รับแบบไม่เหมือนชาวบ้าน

พวกนี้จะอยู่แถว ฝัง West อย่าง UC จะปิดรับสมัครสิ้นเดือน พ.ย. ในรอบ Regular หรือ University of washington at เมือง สวยๆ อย่าง Seattle ก็ปิดประมาณนี้

ดังนั้น ใครที่จะสมัครก็ต้องรีบแล้ว เหลืออีก 20 กว่าวัน เฮอ! ขอไปปั่นต่อล่ะ

Advertisement

Comments are closed.

Create a website or blog at WordPress.com

Up ↑

%d bloggers like this: