กลับมาจากงานสัปดาห์หนังสือที่แสนเหนื่อย (แต่ว่าสนุก) แล้วค่ะ เห็นคุณพิมถามคำถามทิ้งไว้นานแล้ว แต่เราเพิ่งมีแรงมาเขียนตอบ เรื่องนี้ก็เกี่ยวกับ Portfolio นั่นเอง
คนส่วนมากก็จะไม่ค่อยคุ้นกับการทำ Portfolio เท่าไหร่
เพราะสมัครเรียนเข้ามหาวิทยาลัยก็ไม่ค่อยได้ใช้
(แถมหลายคนยังติดปัญหาว่าไม่ค่อยได้ทำกิจกรรมด้วยสิ)
แต่เมื่อเราก้าวพ้นกรอบของโรงเรียนสู่การสอบชิงทุนหรือการสมัครงาน
เชื่อไหมคะว่า Portfolio เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งเลยค่ะ
โดยเฉพาะงานทางสายศิลป์ไม่ว่าจะเป็น กราฟิกดีไซน์ นักเขียน คอลัมนิสต์
บางครั้งพอร์ตสำคัญมากกว่าใบเกรดอีก
คุณพิม
รบกวนถามนิดนึงค่ะว่า หากอยากเข้ากองบ.ก.พอร์ตต้องเป็นแนวไหน หมายถึงงานเขียนที่ส่งไปควรมีหลายแนวหรือมุ่งไปทางใดทางหนึ่ง เช่นเรื่องท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียวคะ
สำหรับคนที่อยากเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกองบรรณาธิการ
เราว่าสิ่งที่เราควรถามตัวเองคำถามแรกก็คือ
เราชอบที่จะเขียนเรื่องแนวไหน เรื่องท่องเที่ยว เรื่องแฟชั่น เรื่องบันเทิง จิตวิทยา……..
ถ้าเราเป็นคนที่อยากทำงานในวงการนักเขียน (กองบก ก็เป็นหนึ่งในนั้น) และเป็นคนชอบเขียนจริงๆ เราอาจมีเรื่องที่ถนัดเขียนแนวหนึ่งที่แบบถนัดมากเป็นพิเศษ แต่ก็ต้องเขียนได้หลากหลายแนว
สิ่งหนึ่งที่เราต้องเข้าใจในกองบก ก็คือ
อย่างเช่น กองบรรณาธิการของนิตยสารคลีโอ จะมีคนที่ “เขียน” อยู่ประมาณ 4-5 คน
ซึ่งแต่ละคนบอกได้เลยว่าทำงานกันข้ามแนวมาก
อย่างพี่คนหนึ่งเขียน Review เครื่องสำอางและยังเขียนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
เนื่องจากกองบรรณาธิการไม่สามารถจ้างคนให้มาเขียนกันคนละเรื่องหรือคนละแนวได้
ดังนั้นสิ่งที่เขาต้องการก็คือคนที่สามารถเขียนเรืองราวได้หลากหลาย
โดยควรเป็นคนรู้เยอะๆ รู้มากๆ รู้กว้าง แต่อาจรู้ลึกแค่เรื่องเดียวเท่านั้น
แต่อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญของคนที่ทำงานตรงนี้ก็คือ ต้องเปิดใจกว้างๆ ที่จะยอมรับ
(และอาจยอมเขียนเรื่องที่ตัวเองไม่ชอบ เช่นพี่คลีโอคนหนึ่ง
ไม่ชอบเกาหลีแต่ต้องสัมภาษณ์ดาราเกาหลี เขาก็ต้องทำให้ได้)
ดังนั้น เราว่าน่าจะตอบคำถามได้แล้วค่ะว่า พอร์ตควรเป็นแนวไหน
ก็คือควรเป็นกว้างๆ ไม่ใช่เฉพาะแนวอย่างเดียว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ควรเป็นเรื่องที่เราสนใจ
ไม่ใช่เป็นคนไม่ชอบเครื่องยนต์ แต่อยากให้กว้างก็เลยใส่ลงไป
ถึงได้งานแต่ก็อาจถูกโยนให้ไปอยู่ฝ่ายนั้นก็ได้นะ O_O
อีกสิ่งหนึ่งที่เราควรเข้าใจเกี่ยวกับ Portfolio ก็คือ
Port เป็นสิ่งที่แทนตัวเรา เรียกได้ว่าทั้งชีวิต
เราได้ทำอะไรเจ๋งๆ ได้คิดอะไรเลิศๆ ได้ร่วมกิจกรรมอะไรเด็ดๆ ก็สามารถใส่ลงไปได้หมด
เรียกได้ว่าสมมติเราตั้งใจจะสมัครกองบรรณาธิการนิตยสารคลีโอ
แต่ข้างในอาจมีทั้งงานเขียนเรื่องทั่วไป ไปจนถึงกิจกรรมในมหาวิทยาลัยที่เราได้ทำ
หรืออะไรแปลกๆที่เราได้เข้าร่วมก็ได้
พูดง่ายๆ ก็คือ อย่าทำพอร์ตเพียงเพราะให้ตรงกับการสมัครงาน
แต่ให้นั่ง คิด ทบทวน ว่าตั้งแต่เกิดมาจนถึง ณ วินาทีนี้ เราได้ทำอะไรมาบ้าง
นั่งกรองเอาเฉพาะเนื้อ (อย่าเอาน้ำมาใส่พอร์ต)
แล้วก็สร้าง Portfolio ที่เป็นตัวเราที่สุดขึ้นมาค่ะ
หนังสือแนวไหนที่เราอยากทำ
บันเทิง (ทีวีพูล กอซซิปสตาร์) ครอบครัว นิตยสารวัยรุ่นหญิง(คลีโอ เซเว่นทีน) หรืออย่างอื่น
งการที่เราจะเลือกได้ว่าเราอยากทำงานกับนิตยสาร “แนว” ไหน ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราชอบอะไรด้วยนะ
ตอนหน้าพบกับ การทำ Portfolio 2 ที่จะมาแนะวิธีการทำพอร์ตโฟลิโอค่ะ