เย้ๆๆ ในที่สุด ก็ได้มาเขียนเรื่องที่ ยาว ใหญ่และสำคัญ เป็นหัวใจเลยก็ว่าได้สำหรับการสมัครเรียนต่อต่างประเทศ(นอกจากคะแนนและเกรด) เพราะเรื่อง Essay เป็นเรื่องที่ต้องอธิบายกันยาวมากๆ เทคนิกก็เยอะ ดังนั้นข้อแยกเป็น Part คาดว่าจะมีสัก 2 แต่อาจจบที่ 3 หรือ 4
วันนี้ขอเริ่มต้นที่การเขียนขนาดสั้นหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Short Answer ส่วนมากจะมีคำกำหนด เช่นห้ามเกิน 150 ตัวอักษรหรืออาจสัก 20 คำ ประมาณนี้ แล้วแต่ Uni ค่ะ หรืออาจมากถึง 100 คำ เป็นต้น
แต่ไม่ยาวถึงขั้นว่าต้องเขียนกันเป็นเรียงความค่ะ
ซึ่งคำถามประเภท Short answer จะแบ่งประเภทได้ดังนี้ค่ะ
1 Why Question
มักจะถามว่า ทำไมถึงสนใจมหาวิทยาลัยเรา ทำไมถึงอยากเรียนสาขานี้ ซึ่งสิ่งที่จะช่วยเราได้ก็คือ หาข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยนี้มากๆ ดูสิว่าเขามีโปรแกรม มีกิจกรรม มีวิชาอะไรที่เราสนใจ ก็อาจเขียนไปเลยค่ะ ว่าเราอยากเข้าร่วมกิจกรรมนู่น นั้น นี้ เรียกว่าขายฝันให้เขาฟังเลย อาจเขียนไปด้วยว่าอาจเรียนวิชาเอกนี้ อยากทำตรงนี้ (แม้ว่าสุดท้ายจะไม่ได้วิชาเอกที่อยากได้….. เหมือนเรา 55+)
อีกสิ่งหนึ่งที่ควรเขียนก็คือ พยายามเชื่อมบุคลิก นิสัย สิ่งที่เราชอบเข้ากับมหาวิทยาลัย เช่น เราสมัครมหาวิทยาลัยขนาดเล็ก ที่มีห้องเรียนขนาดเล็ก เราก็เขียนไปว่าชอบเรียนใน Class size ที่ Small หรืออาจรวมไปถึงอากาศ ความเป็นอยู่ โดยเฉพาะใครที่จะสมัครมหาวิทยาลัยเฉพาะด้าน อย่างเช่น Emerson เกือบทุกวิชาเอกเป็นแนวสื่อสารมวลชนหมด ก็ควรเน้นว่าเราชอบงานสายสื่อสารมวลชนมากแค่ไหนเป็นต้น
จุดหมายของคำถามนี้ก็คือ เพื่อให้มหาวิทยาลัยรู้ว่า เราเหมาะ เข้าได้กับมหาวิทยาลัยเขาจริงๆ จะได้ไม่ต้อง transfer เปลี่ยนมหาวิทยาลัยภายหลัง ซึ่งบอกได้เลยว่าคำถามประเภท Why มักถามจากมหาวิทยาลัยที่เป็น Private และขนาดค่อนข้างเล็กค่ะ
2. คำถามทั่วไป
บางคำถามเจอก็อาจ เห้ย! ถามทำไม (วะ) เช่นของเราเจอ ที่ท่องเที่ยวที่ไหนที่คุณประทับใจมากสุด ตอบได้ไม่เกิด 150 ตัวอักษร ตอนแรกเราก็ อืมม ถามทำไม การที่เราจะตอบก็ต้องสะท้อนให้เห็นถึงมุมมอง ความคิด บุคลิกของตัวเราให้ได้มากที่สุด
เช่น ของเรา เราตอบไปว่า My favourite place is Kyoto because it is where a traditional and modern lifestyle mixed beautifully (ประมาณนี้ แต่ถูกแกรมม่ากว่านี้ เพราะกว่านี้นิดนึงค่ะ เพราะเราหาต้นฉบับไม่เจอ ไม่รู้ไป Save ไว้ที่ไหน ผ่านมาแล้วเกือบครึ่งปี จำได้แค่นี้ 55+)
แต่สิ่งนี้ก็แสดงให้เห็นว่า เราสนใจประวัติศาสตร์ มุมมองที่เรามองแต่ละสิ่ง ไม่ได้ดูแค่ว่าสวย เงียบ สงบ แต่เราดูถึงวิถีชีวิต พูดง่ายๆ พยายามสะท้อนความคิด ตัวตนของเราออกมาให้ได้ ผ่านทางคำถามที่ดูง่ายๆ เกี่ยวกับชีวิตเราให้ได้มากที่สุด
หรืออาจมีคำถามอีกเช่น ประสบการณ์ทำงานที่คุณเคยทำ
ถ้าไม่มีทำไง
อันนี้เราไปอ่านเจอคนเขาคุยกัน เขาบอกว่าให้เขียนประสบการณ์ธรรมดาทั่วไป ยิ่งถ้าเป็นงานอาสาสมัครได้จะดีมากๆๆๆๆๆ เขียนไปเลย อย่าเว้นว่าง
ส่วนคำถามพวกนี้ ก็จะเป็นแนวน่ารักๆ ค่ะ เช่น หนังสือเล่มสุดท้ายที่อ่านชื่ออะไร ใครคือแรงบันดาลใจของคุณ เป็นคำถามที่เขาไม่สนใจคำตอบหรอก แต่เขาสนใจเหตุผลที่เราเอามาอธิบายว่าทำไม เพราะอะไรถึงชอบ ถึงเป็นแบบนี้
อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญก็คือ เขียนให้คุ้ม เขียนให้เกือบครบคำที่เขากำหนด แต่อย่าเกินค่ะ และพยายามให้ได้เนื้อที่เขาต้องการ อย่าใส่น้ำลงไปเยอะ
การเขียนเรียงความขนาดยาว (250++ คำ)
การเขียน Essay นี่แหละค่ะ สำหรับเราเมื่อปีที่แล้วตอนที่สมัครเรียน นับว่าเป็นขั้นตอนที่วุ่นวาย ปวดหัวที่สุดเลย นอกจากเพราะภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาแม่ ไม่ใช่แม้แต่ภาษาที่เราเรียนที่โรงเรียนแล้ว เรายังต้องเขียนให้ถูกใจคณะกรรมการ ตอบคำถามให้ตรงจุดและแสดงความเป้นตัวตนของเราให้ได้มากที่สุดด้วย
มีคนเคยบอกว่า การเขียน Essay สำหรับสมัครเรีนนต่อนั้น ไม่ต้องใช้ภาษาที่เริศ ศัพท์ที่ท่องตอนสอบ SAT นั้น เอาไปเก็บได้เลย ให้ใช้คำง่ายๆ แต่สร้างสรรค์ และสะท้อนความคิด แน่นอน ว่ามหาวิทยาลัยเขาต้องการคนที่มีความคิด ความอ่าน เป็นคนทีมีมุมมอง มีจุดยืน
อย่างน้อยก็ต้องรู้ว่าตัวเองเป็นใคร ชอบทำอะไร อยากทำอะไร และมีความฝันที่จะทำอย่างไร
ซึ่งการบอกเล่ามุมมองของเรา ซึ่งค่อนข้างเป็น นามธรรม (abstract) วิธีที่ง่ายๆที่สุด คือหาตัวช่วยว่าเราจะเล่าผ่านอะไร อาจเป็นผ่านกิจกรรมที่เราเคยทำ ผ่านเรื่องในครอบครัว ผ่านหนังสือเล่มโปรด ซึ่งขอให้เป็นสิ่งที่เราใกล้ชิดและผูกพันธ์ จะช่วยให้เราเข้าถึงมันได้มากๆ
อีกอย่างหนึ่งก็คือ เราไม่จำเป็นต้องเขียนถึงความฉลาดของเรา เช่นได้เหรียญเงินเหรียญทอง ได้ที่ 1 เพราะเราสามารถเอาไปใส่ใน Resume หรือ Award ได้ แต่ถ้าอยากเขียนก็ไม่เป็นไร แต่เราต้องใส่มุมมองของเราลงไป ว่าเราผ่านอุปสรรคอะไรบ้างกว่าจะได้มาถึงจุดนั้น แล้วจากจุดนี้เราได้เรียนรู้อะไร เป็นต้น
ซึ่งตรงนี้แหละคะ ที่ Admission Office เขาต้องการ
ทีนี้ ให้คนอื่นเขียนให้ได้ไหม คงเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย
แต่เราขอถามกลับบ้างว่า
1 คนๆ นั้นจะรู้ได้อย่างไร ว่ามุมมอง ความคิด ชีวิตของเราเป็นอย่างไร แม้แต่พ่อแม่ หรือเพื่อนสนิท ก็ไม่มีทางรู้ได้เท่าเรา ของเราแม่ก็มีช่วยบ้างตอนที่คิดไม่ออกจริงๆ แต่ก็แค่ไกด์ไลน์ให้ว่าเพิ่มตรงนั้น ตรงนี้ดู ไม่ได้จับปากกาเขียนให้
2 คนๆ นั้นเก่งภาษาอังกฤษเท่าไหร่กัน
เราบอกได้เลยว่า ถ้าคนที่กำลังสมัคร ได้ผ่านขั้นตอนการสอบ(อันโหดร้าย) ผ่านนู่นนี่มามากมาย ภาษาอังกฤษก็ถือว่า ดีในระดับหนึ่ง มากน้อยต่างกันไป
ทีนี้ จะจ้างฝรั่งมาเขียนให้ได้เลยไหม คำตอบก็คือ เขาไม่มีทางรู้จักตัวเราได้เท่าเราอีกเช่นกัน
อย่างของเรา เราเขียนเองทั้งหมด แล้วก็ให้ฝรั่งช่วยแก้ให้ ถึงแม้เขาจะแก้ขีดตัวแดงเกือบทั้งหมด แก้กันอย่างต่ำ 3 รอบ อย่างมากก็ เกิน 5 มั้งคะ จบได้ Version สุดท้าย ซึ่งถ้าเทียบอันแรกกับอันสุดท้าย แทบไม่เหมือนกันเลย
แต่เชื่อไหมคะว่า ถึงเราอ่านอันสุดท้าย ก็ยังมีตัวตนของเราวิ่งอยู่ในนั้น เพราะถึงแม้จะแก้ตรงไหน เขาจะถามเราเลยว่า คิดว่าควรเปลี่ยนอะไร เธอเคยทำอะไรมาบ้างเป็นต้น
สรุป เขาก็แค่ช่วยหลักภาษา สำนวน องค์รวม และแนะให้ แต่เนื้อจริงๆ ก็ยังเป็นของเราอยู่ดี ^^
อีกคำเตือนหนึ่ง สำหรับคนที่คิดจะให้คนอื่นเขียนให้ก็คือ ยังคำ SAT ได้ไหมคะ เขามี Part Writing ซึ่งมีการเขียน Essay ด้วย นั่นแหละคะ ถ้าเกิดทางทีม Admission เขาสงสัยก็อาจขอให้ทาง College board ส่ง Essay ที่เราเขียนมาให้ก็ได้
Reblogged this on gemscracker.