เคล็ดลับ ทบทวนบทเรียน (แบบได้ผล)

วันนี้ก็กลับมาหากินกับพาร์ก วอนฮีอีกเช่นเคย
วันนี้ เราภูมิใจเสนอ การทบทวนบทเรียนแบบได้ผล
อันนี้พี่เขาเขียนตอนเรียนจบ High school ซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพของพี่วอนฮีมากขึ้นด้วย

1.อาณาจักรสมุดโน้ต

พาร์ก วอนฮี เขาจะจดงานแบบเป็นระเบียบมากๆ
และสมุดของเขาก็เปรียบเสมือนสมุดวิชาการเล่มย่อมๆ เลย
อย่างเช่นสมุดวิชาชีวะ ที่เขาตั้งชื่อให้ด้วยว่า Won hee ‘s Biology note
เวลาที่เขียน ต้องใช้ หนังสือมากถึง 3 เล่ม และกระดาษที่จดข้อความต่างๆ อีกเป็นปึก

เขาจะวาดรูป และ ระบายสีอย่างสวยงาม
(เขาเป็นคนที่วาดรูปเก่งมาก เป็นประธานชมรมศิลปะที่โรงเรียน แต่ไปเรียนต่อด้าวนเศรษฐศาสตร์ ที่ฮาร์วาร์ด)

เขาบอกว่า สมุดโน้ต มีอะไรมากกว่าแค่จด
เพราะเราสามารถเขียนทุกอย่างที่เราอยากเขียนลงไปได้
เช่น โจทย์เพิ่มเติมต่างๆ หรือข้อความสำคัญ
พูดง่ายๆ คือไม่ได้ใช้จดเฉพาะในคาบเรียน แต่สามารถใช้ได้ตลอดเวลา

2. ยิ่งทบทวนเร็ว ยิ่งได้ผล

พาร์ก วอนฮีบอกว่า เวลาที่เราเรียนอะไรในห้องนี่ เนื้อหาก็จะฉาบอยู่ที่หัว
ถ้าเราทบทวนเพิ่มเติม ความรู้ก็จะซึมเข้าไป แต่ถ้าไม่ทบทวน ความรู้ก็จะหายไป
ดังนั้น ยิ่งเราทบทวนได้เร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งดีเท่านั้น

(คมมาก ประเด็นคือ เขาคิดอันนี้ไ้ด้ ตอน ม.2 เราเพิ่งคิดได้เมื่อได้อ่านของเขาเมื่อปีที่แล้ว O_o)

วิธีการของพี่สาวก็คือ เมื่อมีเวลาว่างหรือตอนพักกลางวัน
เขาจะเขียนเนื้อหาในคาบที่เพิ่งเรียน ใส่สมุดโน้ตใหม่ให้สวยงาม
ตอนเย็นจะอ่านเพิ่มเติม เพราะถ้าไม่ทำแบบนี้ความรู้ก็จะหายไป ไม่จดจำในสมอง

3.จัดสรรเวลาให้เป็น

วิธีการก็คือ เขาจะมีสมุดบันทึกที่มีกำหนดอย่างละเอียดว่าจะทำอะไรบ้าง
โดยยึดคติว่า เวลา 24 ชั่วโมงของฉันต่อไปนี้ จะใช้ตามใจชอบให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เพราะการวางแผนจะช่วยให้เขาทำงานต่างๆได้ทัน

ถ้าเราเสียเวลาให้กับการทำงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งมากเกินไป เราก็อาจทำงานอื่นไม่ทัน
แต่หากเครียดเกินไป เขาก็จะให้เวลาตัวเองดูมิวสิกวิดีโอ (พี่เขาชอบ โบอา) หรือไม่ก็วาดภาพเล่น

อีกเทคนิกบริหารเวลาก็ที่โรงเรียน เมื่อเรียนไปแล้ว 45 นาที จะมีเวลาพัก 10 นาที
เขาจะอ่านหนังสือและทำโจทย์ให้เสร็จ เ
พราะเศษเวลาก็เป็นเรื่องสำคัญ  แค่วันละ 5 นาที 1 ปีก็ 121 ชั่วโมงแล้วนะจ้ะ

“จงจัดสรรเวลาให้เป็น เพราะเวลาเป็นของพี่ค่า หากไม่อยากถูกเวลาไล่ต้อน ก็จงอยู่เหนือเวลาให้ได้” (นี่คือความคิดของเด็กอายุ 17: วอนฮี)

4.ลองงัดข้อกับวิชาไม่ถนัด

ตอนอยู่ ม.ต้น จะมีช่วงหนึ่งที่เขารู้สึกว่าเขาไม่เก่งคณิต ถ้าคิดไม่ออก เขาจะใช้ปากกาตบโต๊ะแล้วพูดว่า

“ชักจะมากไปแล้วนะ มาดวลกันสักตั้ง”

พอพูดแบบนี้ เขาก็จะมีกำลังใจที่หึกเหิมขึ้น
หรืออย่างวิชาประวัติศาสตร์ยุโรป ที่เขามีปัญหากับทั้งวิชาแล้วก็ครูนิดหน่อย
เขาก็จะวาดรูปตกแต่งสมุดโน้ต พร้อมกับเขียนข้อความสนุกๆ ไว้ข้างๆ เช่น

Calculus มาจากหมอนี่นี่เอง

พาร์ก วอนฮีบอกว่า หนังสือแต่ละเล่มก็เหมือนจะตั้งคำถามรอให้เราไปคุยด้วยอยู่
ลองคุยกับหนังสือดู แล้วจะช่วยปลดปล่อย พันธนาการลงมา

5.เขียนข้อความปลุกใจ

ก็แปะไว้ที่โต๊ะ เช่น พักวอนฮี ยายโง่ รีบอ่านหนังได้แล้ว (พี่คะ พี่ฉลาดมากค่ะ)
หรือช่วงหนึ่งที่พี่เขาติดแชท ก็จะแปะที่คอมว่า
“แชตคือสิ่งต้องห้าม ไม่ได้นะ ห้ามเปิดเด็ดขาด ยกมือขึ้น”
หรืออย่างคำศัพท์ที่พี่เขาจำไม่ได้ก็จะไปแปะไว้ตามที่ต่างๆ ทั้งหน้าตู้เสื้อผ้า ห้องน้ำ ก็จะจำได้เอง

6.ตั้งเป้าหมายให้สูง

ก็ถ้าเราตั้งไว้ที่ 80 เราก็จะได้ใกล้ๆ 80
แต่ถ้าตั้งไว้ที่ 100 ไม่แน่ เราก็อาจได้ใกล้ๆ 100 ก็ได้ค่ะ
ซึ่งอันนี้ เราทำมาแล้ว ดีจริง อะไรจริง
แต่ตั้งแล้วก็ต้องพยายามอย่างหนักที่จะทำให้ได้ด้วยนะ อันนี้สำคัญมาก

7. ต้องเรียงลำดับก่อนหลัง

คือตั้งแต่ประถม คุณแม่ขะบอกเขาว่าาต้องทำอะไรก่อน
เช่นเมื่อกลับจากโรงเรียน ต้องทำการบ้าน อ่านหนังสือ ซ้อมเปียโน (เขาเล่นเปียโนได้ด้วย)
แล้วก็เขียนบันทึก ตอนแรกอาจดูน่าเบื่อที่ต้องทำตามแบบนี้
แต่ทำไปเรื่อยๆ จะเป็นนิสัย แล้ว เราก็จะไม่ขี้เกียจอีกต่อไป

8. อ่านหนังสือเรียน = อ่านการ์ตูน

เมื่ออ่านหนังสือการ์ตูนรู้สึกยังไง สนุกใช่มั๊ย เวลาอ่านหนังสือเรียนก็ต้องรู้สึกแบบนั้นเช่นกัน  แค่นี้แหละจ้ะ

เขาฝากบอกอีกว่า การเรียน ไม่มีทางลัด มีแต่เคล็ดลับ ซึ่งวิธีก็คือเราไม่สามารถมองหาเส้นทางลัดได้ สิ่งที่เราทำก็คือก้าวยาวๆ ขึ้น และมุ่งตรงไปที่เป้าหมายอย่างเดียว

ตอนนี้เอาเรื่องเขามาเขียนบ่อยเพราะต้องการกำลังใจจากพี่สาวสุดๆ
ชีวิตกำลังอยู่ในช่วงตกต่ำ เราไม่รู้ว่าภาคนี้ จะเป็นภาคสุดท้ายเกี่ยวกับพี่วอนฮี หรือจะมีต่ออีก 1 เอนทรี
แต่ขอโฆษณา หนังสือของเขาก่อนแล้วกัน (ประเด็นคือกลัวเรื่องลิขสิทธิ์ เหมือนจะเอาเรื่องของเขามาเยอะ)

ชื่อหนังสือ คือ เรียน 9 ได้ 10 เก่งอังกฤษ ขั้นเทพ

สำนักพิมพ์อมรินทร์ How-to

ผู้เขียน พัก วอนฮี

Advertisement

Comments are closed.

Create a website or blog at WordPress.com

Up ↑

%d bloggers like this: