เทคนิกการท่องศัพท์จากรุ่นพี่ ฮาร์วาร์ด

เทคนิกนี้เอามาจากรุ่นพี่วอนฮี ตอนนี้อยู่ ฮาร์วาร์ด(หรือจบแล้วไม่แน่ใจ)  เกียรติประวัติของพี่เขาก็คือ สมัคร u TOP 12 แห่ง ได้จดหมายตอบรับหมด ยกเว้น Yale  (เก่งเกินนน)

อันนี้เป็นเทคนิก ที่พี่เข้าท่องสอบ SAT จนได้ Critical reading 760 (O_o)

เพื่อนๆ ก็สามารถเอาไปท่อง สอบที่โรงเรียน O-net gat  Smart 1 Cu-tep, Cu-AAT, SAT, TU-GET หรือแม้แต่ pat เพราะเราเชื่อว่าการท่องศัพท์ทุกภาษามีวิธีคล้ายๆ กัน

สิ่งที่ต้องมีเหมือนกัน กับการท่องหนังสือทั่วไปก็คือ ความขยัน ถ้าเทคนิกสามารถช่วยได้สัก 30 เปอร์เซนต์ อีก 70 คือ ความตั้งใจ

สิ่งที่เทคนิกช่วยได้ก็คือ ประหยัดเวลา และพลังงานของเราลง ในเวลาจำกัด เราจะสามารถท่องได้มากขึ้น

มาเริ่มกันเลยดีกว่า…

1. การจำ Prefix และ Sub-fix 

วิธีนี้เป็นที่นิยมมาก โดยเฉพาะตามโรงเรียนกวดวิชา อย่างเช่นเรารู้คำว่า Increase แปลว่าเพิ่มขึ้น ดังนั้น de- ที่แปลว่า down decrease ก็แปลว่าลดลง

หรืออย่าง Polyonymous

Poly แปลว่า มากมาย และ onymous ก็แปลว่า name รวมกันก็ หลายชื่อนั่นเอง

ส่วน subfix ก็คือ การเปลี่ยนหน้าที่ของคำเป็น Adj Verb Noun นั่นเอง ครูหลายคนบอกว่าควรท่องแต่เราก็ยังท่องไม่ได้สักที จริงๆ ถ้าเห็นบ่อยๆ จะจำได้เอง

2.รวบรวมคำที่มีความหมายเหมือนกัน

ก็คือการรวบรวมคำที่ความหมายเหมือนๆกัน ไว้ด้วยกันนั่นเอง ถ้าเราท่องทั้งกลุ่มได้ เช่น Get gain attain ถึงเราไม่รู้คำว่า attain แต่เราก็จะรู้่ว่า get ก็แปลว่าได้รับเหมือนกัน

3. จำคำศัพท์แบบเชื่อมโยง

คือการเชื่อมเสียงกับชีวิตประจำวัน โดยตัวเรา ใช้วิธีนี้บ่อยมาก เพราะจะจำได้เร็วและนาน ยิ่งทำให้ตลกเท่าไหร่ ยิ่งจำได้แม่นไม่มีลืม

ตัวอย่าง คำว่า Pugnacious เราเห็น Pug แปลว่า ผลัก ผลัก คนที่ชอบผลักคนอื่นก็คือคนที่ชอบทะเลาะวิวาท สรุป ก็แปลว่าคนที่ชอบทะเลาะนันเอง หรืออย่าง insidious ก็ Inside แปลว่าข้างใน ข้างในจิตใจคนมีเล่ห์เหลี่ยม (insidious แปลว่า ที่มีเล่ห์เหลี่ยม)

ยิ่งถ้าเราทำท่าประกอบด้วย จะจำได้เร็วมากขึ้น แต่คนอาจหาว่าบ้าก็ได้55+

4.จำคำศัพท์ร่วมกับคนอื่น 

การทอ่งศัพท์คนเดียวบางครั้งก็ดูเหมือนเป็นการเรียนแบบ Passive จนเกินไป ผลักกันท่องศัพท์กับเพื่อน ก็คือการเรียนแบบ Active และทำให้เราไม่เบื่อจนเกินไป

5.อ่านคำศัพท์ที่อยู่ในประโยค

ไม่รู้ว่าอยู่ในวิธีการท่องศัพท์รึปล่าว แต่การได้อ่านคำในประโยค จะฝึกให้เราเดาศัพท์ในบริบทได้เก่งขึ้น  เพราะเราไม่มีทางรู้ทุกคำในข้อสอบได้แน่ อีกอย่าง การเห็นคำในประโยค จะช่วยให้เราใช้คำไ้ด้ถูกต้อง

6. การทำ Notecard หรือ แผ่นช่วยจำ

ตัดกระดาษขนาดฝ่ามือ เราชอบใช้กระดาษสีอ่อนๆ มีหมดเลยทั้ง ชมพู เขียว ฟ้า ส้ม ตัดเป็นปึกๆ เจาะรูแล้วใช้ห่วงสีทองๆ ให้มันอยู่ด้วยกันเป็นปึก หรือไม่ก็ มัดยางเอาไว้ด้วยกันก็ได้

วิธีการคือ เขียนคำศัพท์ไว้หน้าหนึ่ง และอีกหน้าหนึ่งก็เขียนคำแปล อาจเพิ่มหน้าที่ของคำว่าเป็น นาม กริยา และอาจมีตัวอย่างประโยคด้วยก็ได้ แล้วแต่ความขยัน

วิธีนี้เด็กนักเรียนเมืองนอกทำกันมานานแล้ว แต่บ้านเราเหมือนกำลังฮิตกันมาก กระดาษของ Double A ก็มีขาย แต่แอบแพง ปึกหนึ่งสัก 100 กว่าแผ่น ตั้ง 20-30 บาท เราทำเอง ได้ 100 แผ่น กระดาษสีแผ่นใหญ่ๆ 5 บาทเอง (คือเราว่าง)

วิธีนี้ดีกว่าจำในสมมติยังไง เพราะบางคำในสมุด เราจะเรียงคำแปลได้ เช่น

Utopia ดินแดนในอุดมคติ

Apex จุดสูงสุด

หลายคน พอเห็นดินแดนในอุดมคติ ก็จะจำได้แล้ ว่าต่อไปคือ จุดสูงสุด โดยไม่ต้องมอง Apex ซึ่งมันผิดวัตถุประสงค์ในการท่องศัพท์

ตอนเราท่องแบบใช้ notecard เรานั่งสับเหมือนสับไพ่เลย อีกอย่างหนึ่ง การท่องในสมุด บางทีหางตาเราอาจไปเห็นคำแปลก็ได้ หรือไม่ ก็ขี้เกียจ เปิดมา ศัพท์เต็มหน้า ไปนอนดีกว่า แต่อันนี้คำละแผ่นเองงง

แต่สำคัญที่สุดก็ต้องขยันท่องนะจ๊ะ

พี่วอนฮียังฝากบอกว่า “การค้นพบจุดอ่อนตัวเองเป็นเรืองน่ากลัว เพราะถ้าเรากำจัดมันออกไปไม่ได้ มันจะติดตัวเราไปตลอด เพราะความหวาดระแวงแบบนี้ ฉันจึงพยายามกระตุ้นตัวเองให้เอาชนะมันไปให้ได้”

และ

“อย่าคิดแง่ลบกับตัวเองเมื่อเราเริ่มการเรียนรู้ใหม่ๆ เพราะต่อให้เราเก่งภาษาอังกฤษแต่ไหน แต่ถ้าอยู่กับ Native เราก็เป็นแค่เด็กประถม” เพราะเหตุนี้ พี่เขาจึงบอกว่าจะพยายามอย่างหนักระหว่างเรียนอยู่ที่ฮาร์วาร์ด

“Slow and steady wins the race”.

Park Wonhee unnie, I don’t know whether you will have chance to read my post or not but if so, I am willing to dedicate all  grateful comments below to you, who’re always my inspiration.

All  I can say is thanks. I will meet you someday, I promise.

Advertisement

Comments are closed.

Create a website or blog at WordPress.com

Up ↑

%d bloggers like this: