3 กุญแจ ถ้าอยากเรียนเก่ง

วันนี้เราเพิ่งได้หนังสือมาเล่มใหม่ ชื่อเรื่อง Study Skills
สำหรับคนที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2
แน่นอนว่าทั้งเล่มเป็นภาษาอังกฤษ T^T
แต่เราจะมาเล่าให้ฟังเป็นภาษาไทย (คือจะได้สรุปไว้สำหรับตัวเองด้วย)

ต้องบอกจุดประสงค์ของหนังสือเล่มนี้ไว้ก่อนว่า ไม่ใช่มานั่งสอนภาษาอังกฤษทั่วๆ ไป แต่จะสอนสำหรับคนที่จะต้องเข้าเรียนวิชาต่างๆ ที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ ฉะนั้น ใครที่จะกลายเป็นนิสิต นักศึกษาอินเตอร์คณะต่างๆ ห้ามพลาด!

1 แรงจูงใจ 

สิ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับคนที่ต้องการประสบความสำเร็วในเรื่องต่างๆ เป็นตัวตัดสินเลย ว่าเราจะล้มเหลวหรือว่าประสบความสำเร็จ

ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

-จากภายใน  ก็คือสิ่งที่เราคาดหวัง อยากได้ อยากมี อยากเป็นแบบใคร  (ในเรื่องที่ดีแล้วมันจะไม่ทำร้ายเรา ) แต่ถ้าใครยังไม่มีแรงบันดาลใจจากภายใน ลองนั่งคิดสิ ว่าเราต้องการอะไรจากการเรียนกันแน่ ซึ่งเขาบอกไว้เลย ว่าการตั้งเป้าหมายสำคัญมาก เพราะจะเป็นตัวกำหนด ทิศทาง ที่เราจะก้าวเดินไป

-จากภายนอก ทุกคนย่อมมีแรงจูงใจจากภายนอกทั้งนั้น ที่เห็นชัดน่าจะเป็นเรื่องของเกรดและการสอบ เกรดช่วยให้เราขยัน ตั้งใจเรียน แต่เป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ และไม่ได้ช่วยอะไรมากให้เราไปถึงเป้าหมายสุดท้ายที่เราวางไว้ ฉะนั้นคนที่ตั้งเกรดไว้เป็นเป้าหมายนั้น ผิดตั้งแต่ยังไม่ออกเริ่มแล้วล่ะ

(อย่างเช่นสิ่งที่เราจะเอามาเล่าๆ ต่อๆไปจากหนังสือเล่มนี้ ก็คงไม่ได้มีแรงจูงใจไว้ให้ เพราะเป็นสิ่งที่เราต้องสร้างจากตัวเราเองก่อน มีแต่เทคนิกดีๆ ที่จะช่วยนะจ๊ะ)

“ไม่ได้สำคัญว่าคุณเรียนไปมากแค่ไหน แต่มันอยู่ที่คุณได้อะไรจากสิ่งที่เรียนบ้าง”

 2 ความสนใจ ตั้งใจ สมาธิ (concentration)

สำคัญมาก วันนี้เราเพิ่งโดนว่าไปเรื่องนี้ T^T เราจะมีสิ่งนี้ง่ายมากถ้าเราทำในสิ่งที่เราชอบ แต่ถ้าเราต้องเรียนในสิ่งที่เราไม่ชอบล่ะ

ขั้นตอนแรก ลองคิดๆ ดูสิ ว่าวิชานี้สำคัญยังไง 

อย่างชีวะ บางคนอาจไม่ชอบ แต่ถ้าเราได้รู้อะไรเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับร่างกายเรา มันก็น่าสนใจชิป่ะ จำไว้นะ ว่าบางครั้งการที่เราได้ออกมาเรียนอะไรนอกที่เราต้องการบ้าง มันก็มีประโยชน์เหมือนกัน เพราะจะช่วยให้เราเข้าใจโลก และทำให้เราโตขึ้นและเป็นผู้รอบรู้ (well rounded person เก๋ป่ะ?)

ต่อมา ลองคิดดูสิว่าวิชานี้ มันเกี่ยวกับวิชาอื่น คนอื่น เวลาอื่น ที่อื่นยังไง เพราะถึงแม้ว่าเราจะต้องเรียนแบ่งเป็นวิชาๆ แต่ทุกวิชาล้วนเกี่ยวกันทั้งนั้น (ทุกวิชามีพื้นฐานมาจากวิชาปรัชญา : พาร์เฟต์) ฉะนั้น วิชาที่เราไม่ชอบ แต่ถ้าเราหาความสัมพันธ์เจอว่ามันเกี่ยวกับวิชาที่เราชอบยังไง เราก็อาจมีความสุขมากขึ้นก็ได้

เช่น สมมติว่าเกลียด วิชา ภาษาฝรั่งเศสมาก แต่ชอบอังกฤษ ถ้าเราค้นพบว่า อังกฤษก็มีรากมาจากฝรั่งเศส เราก็จะรัก ภาษานี้มากขึ้นก็ได้ ลองดูๆ

สุดท้าย คือ เราต้องเข้าใจพื้นฐานของมันก่อน คนที่ไม่เข้าใจว่าทำไม 1+1 ถึงเป็น 2 ก็ไม่มีทางเรียนเลขอย่างสนุกได้หรอก ฉะนั้นลองใช้เวลาเพื่อที่จะได้เข้าใจอะไรลึกๆ แล้วเราจะพวความน่าสนใจในนั้น (จริง เราลองมาแล้ว เพราะเมื่อก่อนเกลียดภาษาอังกฤษมากส์ส์ส์)

ดังนั้น เวลาที่เราเริ่มต้นเรียนอะไรใหม่ๆ เปิดใจให้กว้าง เพราะสมมติว่าเรากำลังเรียนอยู่เรื่องหนึ่ง มันจะมีอีกหลายเรื่องที่เกี่ยวข้อง ถ้าไม่เปิดใจ เราก็ไม่อาจเข้าใจในสิ่งที่เรากำลังจะเรียนได้

ที่สำคัญคือ ต้องมีความสนใจที่จะเรียน เขาเรียกกระตือรือร้นมั้ง และเรียน เขียน อ่าน บ่อยๆ ถ้าไม่เข้าใจก็ถามเลย หรือไม่ก็หาตัวช่วย ขั้นตอนนี้อาจผ่านไปยาก แต่ถ้าเราข้ามไปได้ สิ่งที่เราได้รับมันคือมหาศาลเลย

“ไม่มีคำถามไหนที่โง่ มีแต่คนโง่ที่ไม่ยอมถาม”

 3. คือการจัดการ กับสมาธิหลุด

รอบตัวเรา มีอะไรมากมายเลยที่ชอบมาทำลายสมาธิเวลาที่เราอ่านหนังสือ ทั้งเสียง แสง แมลอง หรือแม้ตัวเราเอง ที่ หิวบ้าง ง่วงบ้าง เบื่อบ้าง

แล้วเราจะจัดการมันยังไงดี

เริ่มแรก

จริงๆ แล้ว พวกตัวทำลายสมาธิ เป็นสิ่งที่ส่วนมากเราสามารถจัดการมันได้ทั้งนั้น โดยเราต้องเริ่มจาก 2 อย่างคือ สถานที่ กับ เวลา

1. สถานที่

เราต้องหาที่เฉพาะ สำหรับไว้อ่านหนังสือเรียน เพราะสมองเรา เขาจะมีความเคยชิน ว่าอยู่ที่นี่ต้องทำอะไร ถ้าเราไปอ่านหนังสือบนเตียง สมองเขาจะชินค่ะ ว่าเราต้องหลับ อ่านไป 10 นาที หลับไปอีกยาววว

ง่ายที่สุดก็คือ โต๊ะอ่านหนังสือของเราเอง ซึ่งโต๊ะต้องเป็นยังไงบ้าง

  • อย่างแรก ต้องสะอาดและเเละเป็นระเบียบ
  • ต่อมา ต้องจัดการของที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนออกไป ทั้งนิตยสาร วิทยุ อาหาร ขนม ขยะ
  • วางของที่ต้องใช้ไว้ใกล้ๆ มือ ทั้ง ปากกา สมุด หนังสือ เราแนะนำให้มีน้ำวางไว้ใกล้ๆ ด้วย และที่สำคัญโคมไฟ เพื่อถนอมตาเราไว้
  • ที่สำคัญ ท่องไว้เลยว่าโต๊ะนี้ สำหรับอ่านหนังสือเท่านั้น ถ้าจะอ่านการ์ตูน เล่นเกมส์ กินขนม ก็ออกไปทำที่อื่น

อีกที่หนึ่งสำหรับอ่านหนังสือ ก็แนะนำว่า เป็นห้องสมุด

ที่แนะนำในกรุงเทพก็มี TCDC มารวย-ตลาดหลักทรัพย์ TK-park อาสาฯ- สยามดิส แล้วก็ อนุสาวรีย์ตรงข้าม The one ประมาณนี้แหละจ้ะ แล้วก็ห้องสมุดมหาวิทยาลัยก็ดีเหมือนกันนะ

2.เวลา

การจัดการเวลาที่ฉลาดที่สุดก็คือ ทำตารางเวลา แต่มันก็ยากที่สุดที่จะทำตามเหมือนกัน ฉะนั้น ถ้าทำตารางแล้ว ท่องไว้เลยว่า ต้องทำให้ได้

คนเรามี 24 ชั่วโมงเท่ากัน เรามีเวลามากพอสำหรับ อ่านหนังสือ คุย นอน และดูซีรีย์เกาหลี ^_^ แต่ที่สำคัญคือเราต้องจัดการมันให้ถูก

ของเล่นประจำวันนี้ เรามี แบบทดสอบ ว่าคุณพร้อมที่จะเรียนหรือยัง

ให้เราให้คะแนน 2 คะแนน สำหรับ ทำเป็นประจำ

1                        ทำเป็นบางครั้ง

0                        ไม่เคยทำ

1…………..    มีโต๊ะอ่านหนังสือเป็นของตัวเอง

2…………..    มีโต๊ะที่อยู่ในห้องส่วนตัว

3………….     โต๊ะสะอาด และเป็นระเบียบ

4………….     มีโคมไฟ

5………….     โคมวางไว้ที่เหมาะสมบนโต๊ะ (ไม่ได้เอาโคมไฟไปวางบนพื้น)

6…………     มีอุปกรณ์การเรียนบนโต๊ะพร้อม

7…………      บนโต๊ะไม่มีของเล่น เช่น นิตยสาร ขนม ขยะ

8………….    เวลาอ่านหนังสือ ไม่มีสิ่งรบกวน เช่นเสียง

9………..       ใช้โต๊ะเพื่ออ่านหนังสืออย่างเดียว

10………     บรรยากาศดี เหมาะที่จะอ่านหนังสือ

ถ้าได้ 15 คะแนนขึ้นไป ก็เท่ากับว่า เรามีที่ที่เหมาะกับการอ่านหนังสือแล้วล่ะ

ถ้าได้อยู่แถว 10 ก็ต้องปรับปรุงนิดหน่อย

แต่ถ้าได้น้อยกว่า 10 ก็ต้องเริ่มจัดการกับที่อ่านหนังสือแล้วล่ะค่ะ

Advertisement

Comments are closed.

Create a website or blog at WordPress.com

Up ↑

%d bloggers like this: