เมื่อวันก่อน มีน้องมาถามทิ้งไว้ที่บล็อกเก่าถามเรื่องความแตกต่างของมหาวิทยาลัย ระหว่างมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน เราก็เลยได้โอกาสมาอัพบล็อกนี้….หวังว่าน้องเขาจะตามมาอ่านนะ ♥
มาถึงวิธีการสังเกตว่ามหาวิทยาลัยไหนเป็นรัฐ อันไหนเป็นเอกชน มหาวิทยาัลัยที่เป็นรัฐจะขึ้นต้นได้ 2 แบบ คือ University of + ชื่อรัฐ หรือ ชื่อรัฐ + state university ซึ่งส่วนมาก มหาวิทยาัลัยขึ้นต้นแบบแรกจะมีชื่อเสียงและแรงค์กิ้งก็อยู่สูงกว่าแบบหลัง
ส่วนมหาวิทยาลัยเอกชนก็จะเป็นชื่ออื่นๆ เช่น Harvard University, Emerson college, Syracuse University หรือแม้แต่ University of Chicago ก็เป็นเอกชนนะ เพราะชิคาโก้เป็นชื่อเมือง ไม่ใช่ชื่อรัฐ
ซึ่งจริงๆ วิธีการเลือกมหาวิทยาลัย ก็จะเคยเขียนไว้แล้วที่ วิธีการเลือกมหาวิทยาลัย
ที่นี้ มาดูกันที่ความแตกต่าง
1. ค่าเล่าเรียน
แตกต่างกันอยู่ แต่ไม่มาก
ส่วนมาก ค่าเล่าเรียนม.รัฐจะถูกกว่าเอกชน เราอาจบอกเป็นตัวเลขไม่ได้เป๊ะๆ เพราะแตกต่างกันไปตามแต่ละที่และ เมือง และปัจจัยอื่นๆ (แม้แต่วิชาที่เปิดสอน ก็เป็นเหตุให้มหาวิทยาลัยนั้นแพงกว่านะ)
ซึ่ง ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยรัฐ จะมีราคาอยู่ 2 เรต ซึ่งเราต้องจ่ายในเรตที่แพงกว่าอย่างไม่มีข้อแม้ (ยกเว้นเราถือสัญชาติเมกันหรือกรีนการ์ด และเป็น resident ของรัฐนั้น) ส่วนมหาวิทยาลัยเอกชนมีเรตเดียว หมายความว่า เราหรือใครก็ต้องจ่ายค่าราคาเท่ากัน
2. จำนวนนักเรียน
มหาลัยรัฐจะมีนักเรียนเยอะกว่ามหาวิทยาลัยเอกชน คือในเมกาจะมีการแบ่งขนาดมหาลัยออกเป็น 3 แบบ คือ ใหญ่ กลาง เล็ก ส่วนมากมหาลัยเอกชนจะเป็นขนาดใหญ่ คือมีนักเรียนทั้งหมดหลายหมื่นคน ในขณะที่มหาลัยเอกชนจะมีแค่หลักพัน
อย่างมหาวิทยาลัยเก่าเรา (Emerson College) – เอกชน ทั้งมหาลัยมีแค่ 4000 คน….เล็กมากกกก
แต่มหาวิทยาลัยปัจจุบัน เป็นรัฐบาลมีนักเรียน 3 หมื่นปลายๆ …. ใหญ่มาก 55
ฉะนั้น เพราะจำนวนนักเรียนนี่แหละก็เลยส่งผลต่อมาถึงหลายอย่างเช่น
- วิชาที่เปิดสอน แน่นอนว่ามหาวิทยาลัยรัฐมีขนาดใหญ่ ก็เลยมีวิชาเปิดสอนเยอะ เหมาะมาก สำหรับคนที่ยังงงกะชีวิตว่าจะเรียนอะไรดี เพราะถ้าจะเปลี่ยนก็แค่ย้ายวิชาเอกหรือย้ายคณะ ไม่ต้องย้ายมหาวิทยาัลัย
-
จำนวนคนในแต่ละคลาส แน่นอนว่ามหาลัยรัฐเด็กเยอะ ในแต่ละชั้นก็เลยมีจำนวนนักเรียนเยอะ (ไม่เท่าเมืองไทยหรอก55+) ในขณะที่มหาลัยเอกชน คลาสส่วนมากมีขนาดเล็ก อย่างมหาวิทยาลัยของเรา คลาสส่วนมากเกินกว่าครึ่งเป็นคลาสขนาดเล็ก
อยากรู้หรอว่าเล็กที่ว่าคือขนาดไหน…..มีประมาณไม่เกิน 20 (ส่วนมาก 15) ข้อเสียที่ตามมาก็คือ การบ้านเยอะเว่อร์ เพราะอาจารย์มีเวลาว่าง แถมอย่าคิดโดดเรียนหรือแอบเล่นมือถือ เพราะอาจารย์จำหน้าได้หมด ยิ่งเราเป็นเด็กเอเชีย (ที่มีไม่กี่คนในห้อง) อาจารย์จำได้ไวโคตร
แต่อย่างมหาวิทยาลัยรัฐที่เราเรียนอยู่ บางคลาสเข้าห้องเลคเชอร์ นักเรียนหลายร้อยคนก็มี
- จำนวนชมรม/ คนที่มีความสนใจเหมือนกัน
คือเราต้องการสื่อคำว่า diversity แต่เหมือนเขียนเป็นไทยแล้วจะงงๆ
คือมหาวิทยาลัยรัฐอาจมีคนหลายๆ ประเภทตั้งแต่แบบว่า มาจากต่างที่ ต่างประเทศ เรียนต่างวิชาเอก ไปจนถึงลักษณะนิสัยต่างๆกันไป ก็จะเหมาะสำหรับคนที่อยากได้เพื่อนหลากหลาย ในขณะที่มหาลัยเอกชน จะได้เพื่อนที่มีลักษณะนิสัยเหมือนๆกัน
อย่างของเราเคยมีคนบอกว่า แค่เดินตามถนนก็รู้ว่าคนไหนมาจากที่นี่ เพราะจะแต่งตัวแปลกๆ มือข้างหนึ่งถือสตราบัค อีกข้างถือบุหรี่ (ดูมันบรรยายซะ เดี๋ยวปีหน้าก็รู้ว่า Stereotype ที่ได้ยินกับความจริงที่เป็นเหมือนกันไหมน๊าาาา)
แล้วของเรามันคือมีแต่คณะนิเทศ ใครว่าคณะนิเทศตัวเองเป็นยังไง ก็ลองนึกดูว่าถ้าทั้งมหาวิทยาัลัยมีแต่เด็กนิเทศมันจะออกมาเป็นยังไง
หรืออย่าง สถาบันแฟชั่นที่นิวยอร์คก็เหมือนกัน เราจำชื่อไม่ได้ เด็กที่นั่นก็เหมือนๆกัน คือ 1 รวย (เพราะค่าเทอมแพง) 2. แต่งตัวแปลกๆ…..
3.ความเป็นอยู่
ไม่ใช่ทั้งหมด แต่ส่วนมาก มหาวิทยาลัยเอกชนน่าอยู่กว่า หอสวยกว่า บรรยากาศดีกว่า (เพราะต้องจ่ายแพงกว่า…) และเด็กส่วนมากก็มาจากต่างเมือง ในขณะที่มหาลัยรัฐเด็กส่วนมากมักมาจากรัฐนั้น ดังนั้นบางทีปิดเสาร์-อาทิตย์ มหาวิทยาลัยอาจเงียบ (และเราอาจเหงา) เพราะทุกคนกลับบ้าน
ในขณะที่เอกชน ส่วนมาก มาจากต่างเมือง เสาร์-อาทิตย์ก็อยู่กันที่มหาวิทยาลัยนี่แหละ จะให้บินไปบินกลับ บอสตัน-แอลเอทุกวันก็คงไม่ไหว 55+
และเพื่อนในมหาวิทยาลัย รัฐ อาจต้องทำงานอย่างหนัก เพราะอย่างที่บอกว่า ค่าเรียนถูก ดังนั้นเขาอาจมาจากครอบครัวที่ไม่รวย ก็เลยต้องทำงานส่งตัวเองด้วย ในขณะที่ Uni เอกชน ก็อาจคล้ายๆ เป็นส่วนกลับ แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด ส่วนมากก็ทำงานนะ
อย่างเพื่อนที่มหาลัย เราเพิ่งเจอเขา (ทางเน็ต) โดยบังเอิญ เธอก็ติดปีนี้พร้อมเรา แต่ก็ขอ defer ไปเข้าปีหน้า เพราะต้องไปทำงาน หาตังค์มาจ่ายค่าเรียน….สุดยอด
(คือเธออยู่ในอารมณ์เดียวกับเรา ประมาณว่าเห็นเพื่อนๆ พูดถึงตื่นเต้น จะเข้าเรียนแล้ว โพสรูปไปเยี่ยมมหาลัยบลาๆ ก็อิจฉา อยากเข้าปีนี้บ้าง เหมือนกับเรา อยากไปสุดๆ)
เพราะที่เมกา การทำงานหาเงินมาใช้จ่ายเอง อาจเป็นค่าใช้จ่ายเล็กๆน้อยๆก็ตาม เช่นจ่ายค่าน้ำมันรถ จ่ายค่าอุปกรณ์การเรียน จิปาถะ ก็ถือเป็นความภูมิใจของเขา และถือว่าคนนี้เป็นคนที่มีความรับผิดชอบ สามารถดูแลตัวเองได้ ถือว่าเป็นผู้ใหญ่แล้วนั้นเอง
แตกต่างจากเมืองไทยเนอะ….(ขอละไว้ในฐานที่เข้าใจ)
เมื่อวันก่อน ไปทำฟัน(เปลี่ยนเหล็กมา) มีอาจารย์หมอมาบอกว่า จะไปเมืองนอกอย่าเอาพวกสร้อยทองของมีค่าไปใส่นะ. เราก็งงๆ ทำไมหรอ นึกว่าแบบจะมีจี้ชิงทรัพย์หรือเปล่า
เขาก็บอกว่าไม่ใช่ๆ แล้วก็กระซิบเบาๆ ว่า พวกคนที่ยังเป็นวัยรุ่นแล้วใส่ของมีราคามากๆ แบบนี้ คนเขาอาจมองได้ว่าเป็นโสเภณี ตึงงงงง (โชคดี ชั้นไม่ชอบใส่ทอง ส่วนของมีค่า…อันนั้นไม่มี55+) แต่ถ้าเป็นคนวัยกลางคนใส่ก็อีกเรื่องนะ
อันนั้นอาจทำงานจนรวยแล้ว…
แตกต่างจากบ้านเราเนอะ เห็นใครใส่ของแพงๆ นอกจาก(บางคน) จะมองด้วยความอิจฉา ส่วนมาก (บางคน) ก็มองด้วยอารมณ์แบบสวย อยากได้มั้ง
ทั้งที่ไม่เคยคิดเลยว่า เด็กยังไม่ทำงาน (หรือเริ่มทำงานไม่กี่ปี) ไปเอาเงินจากไหนมาซื้อของ (วะ)
(เพิ่มเติม) – 2015
ตรงเรื่องความเป็นอยู่ จริงครึ่งไม่จริงครึ่งค่ะ นักเรียนมหาวิทยาลัยเอกชนก็ทำงานกันเยอะ อย่างเด็กที่ Emerson ทำงานกับแบบโคตรเยอะ โคตรจริงจัง ทั้งงานพาร์ททาม ฝึกงาน ฯลฯ เราว่าขึ้นอยู่กับแต่ละมหาวิทยาลัยเป็นหลักมากกว่าค่ะ แต่โดยรวมก็จริงที่ว่าเด็กมหาวิทยาลัยรัฐจะทำงานกันเยอะกว่า อาจเพราะมหาวิทยาลัยรัฐมีเด็กที่ไม่ได้มีฐานะดีมาก มากกว่ามหาวิทยาลัยเอกชนค่ะ
ดู ๆ ไปก็พูดถูก เหอะ ๆ
ตอนนี้เค้าก็เรียนหนัก เพื่อจะเอาทุนไปเรียนต่อญี่ปุ่นให้ได้อ่ะ
แต่หนักมากก็ปวดหัว เหมือนไมเกรนจะขึ้น 5555
ดีใจด้วยนะเรื่องเรียนต่างประเทศ
แต่ว่า สรุปคือ จะเว้นไว้หนึ่งปีก่อนใช่ไหมอ่ะ
ปีหน้าค่อยเข้ามหาลัยแบบนี้หรอ???
อืมม ๆๆๆ
ยังไงก็สู้ ๆ นะ
^^
ใช่ ติดเรื่องฟันนี่แหละ เซ็งสุดๆ ก็เลยมาเรียนญี่ปุ่นเล่นๆ (ไม่เล่นอ่ะ อยากอ่านออก)
สู้ๆ นะ จริงๆ ญี่ปุ่นก็อยากไป…แต่สอบทุนไม่ติด 55+
ไปญี่ปุ่นให้ได้นะ แล้วมาเล่าให้ฟังด้วย อยากไปอยู่ที่นั่นมว้ากกกก