How to English : ทำไงให้เก่งอังกฤษ 2 Academic

ตอนที่แล้ว เราพูดกันไปถึงการทำพื้นฐานภาษาอังกฤษให้ดีใน อยากเก่งอังกฤษ1 ซึ่งเป็น General English หรือ ภาษาอังกฤษทั่วไปในชีวิตประจำวัน ต่างจากวันนี้จะเป็น Academic English หรือภาษาอังกฤษในเชิงวิชาการนั่นเอง (และจำได้ไหมว่าตอนที่แล้ว เรามีการแบ่งระดับภาษาอังกฤษ 3 ระดับ เราจะพูดถึงทำไงให้เป็นเทพอังกฤษด้วย)

เหมาะมากสำหรับคนที่กำลังจะเรียนหรือเรียนอยู่ในคณะที่ใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน (หรือใครที่กำลังเตรียมตัวจะไปเรียนต่างประเทศด้วย)

โดยเราจะแบ่งเป็น 4 ทักษะคือ

1. การฟัง

การฟังในเรื่องนี้ จะค่อนข้างลึกซึ้งขึ้น เพราะเวลาพูดถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เขาจะลงลึกในเรื่องรายละเอียด ต่างจากอังกฤษประจำวัน ที่เน้นเรื่องทั่วไป

แล้วเราจะฝึกยังไงดี

การฟังซีรีย์/หนัง อาจช่วยเราไม่ได้อีกต่อไปแล้ว เราต้องเปลี่ยนมาฟังข่าว (BBC,CNN..) พยายามหาช่วงที่เราชอบเช่นข่าวกีฬา ข่าว International news ข่าวเศรษฐกิจ หรือฟังสารคดีเป็นภาษาอังกฤษ สารคดีอาจเป็นเรื่องอะไรก็ได้ ที่เข้าค่อนข้างบรรยายเป็นเรื่องราวยาวๆ นานๆ

นี่แหละการฟัง ฝึกยาก เพราะเราำไม่ได้อยู่ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษทุกวัน…

อีกที่ก็คือ หาวิชาใน coursera.org และลงเรียนซะ รับรองว่านอกจากภาษาอังกฤษจะเก่งขึ้นแล้ว ยังได้ความรู้เพิ่มแบบเน้นๆ ด้วย หรือจะฟัง Tedtalk สักวันละคลิปสองคลิปก็ได้ประโยชน์ดีน้า เพราะอาจารย์ก็มักพูดลักษณะนี้เช่นกัน

2.การพูด

อังกฤษในเชิงวิชาการ สิ่งหนึ่งเกี่ยวกับการพูดที่เพิ่มมาก็คือ เราต้องรายงานหน้าชั้น ซึ่งจะต่างกับการพูดทั่วๆไปนิสสนึง ตรงที่ เราพูดกับคนหมู่มาก (ฉะนั้น ห้ามตื่นเต้น) และเราควรพูดช้าลงหน่อย ให้ชัด และเคลัยร์ ต้องจัดระดับความคิดให้ดี

ที่สำคัญ ห้ามเอากระดาษออกไปถืออ่านเด็ดขาด (คือต้องจำเนื้อหาให้ได้….)

ส่วนเรื่องสำเนียง/การออกเสียง ฟังเยอะๆ ก็จะช่วยได้เอง

3. การอ่าน

หลังจากเราอ่านหนังสือทั่วๆ เช่น นิยายง่ายๆ เล่มเล็กๆ เข้าใจแล้ว ถ้าเราอยากพัฒนาภาษาอังกฤษเราก็ต้องอ่านในสิ่งที่ยากขึ้น จริงๆ นิตยสารภาษาอังกฤษมีเยอะ (ตามร้านก็มีขายเยอะ) เล่มที่แนะนำคือ The Economics ไม่ได้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มาก แต่เป็นข่าวประจำวันคล้ายๆ Times มากกว่า

แต่หนากว่า รายละเอียดเรื่องเยอะกว่า แพงกว่า และคำศัพท์ยากกว่ามาก ใครที่ท่องศัพท์ SAT แล้วบ่นๆว่า ท่องศัพท์ประหลาดๆ พวกนั้นไปทำไม มันมีใช้จริงๆ อย่างน้อยก็ในเล่มนี้……

นิตยสารอื่นๆ ก็มีอย่างเช่น Scientific เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์, mind หาอ่านได้ที่ TK อีกเช่นกัน (หรือคิโนะคุนิยะก็ได้นะ ^^)

ส่วนหนังสือ เราจะอ่านหนังสือเด็ก/การ์ตูน หรืออะไรเล่มบางๆ ต่อไปไม่ได้อีกแล้ว เราต้องพัฒนามาอ่านหนังสือนิยายหนาๆ ขึ้น อาจเป็นนิยาย หรือเรื่องทั่วไป ตามแนวที่เราถนัดก็ได้

จริงเคยแนะนำไว้ใน 101 หนังสือต้องอ่าน เนื้อเรื่องไม่ได้สนุกมากหรอก แต่เป็นพวก Classic หน่อยๆ ภาษาจะยากตรงที่มันโบราณ อ่านแล้วก็จำไว้แต่ในหนังสือ อย่าเผลอเอาออกไปใช้ ถ้าไม่อยากถูกมองว่า เป็นคนมาจากยุดโบราณนะ55+

แต่จริงๆ การที่จะอ่านหนังสือวรรณกรรมภาษาอังกฤษได้ ภาษาอังกฤษก็ต้องพอได้ในระดับหนึ่ง เหมือนคนเพิ่งเรียนภาษาไทย ไปอ่านพระอภัยมณีเลยก็ไม่รู้เรื่อง จริงไหม (เพราะขนาดเราเป็นคนไทย ยังอ่านไม่รู้เรืื่อง)

หนังสืออีกแบบที่น่าอ่านก็คือตระกูล Pocketbook เป็น non-fiction สำหรับคนที่ไม่อยากอ่านนิยาย (101 หนังสือต้องอ่านด้านบน) ก็ลองอ่านดู ถ้าให้แนะนำตอนนี้ก็ Outliers ชอบมากๆ

อีกอย่างหนึ่งที่ควรอ่านก็คือ Textbook อ่านตามสาขาที่เราเรียนมานั่นแหละ เทคนิกในการอ่าน นอกจากภาษาที่ดีแล้ว เราต้องมีทักษะทางการเรียนด้วย ซึ่งเราก็เคยเขียนไปบ้าง อยู่ใน Study Skill ลองอ่านดูนะ

เพราะการที่เราจะอ่านหนังสือเรียนภาษาอังกฤษรู้เรื่อง ไม่ได้อยู่ที่ว่า ภาษาอังกฤษเราเพียงอย่างเดียว แต่ต้องสามารถเข้าใจ จำประเด็นหลักของเรื่องได้ด้วย

ดังนั้นนี่คือ จุดที่ยากของ academic English คือเราต้องใช้ภาษาอังกฤษเพื่อเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (และเรื่องนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะเข้าใจได้ง่ายๆ)

4. การเขียน

เราเชื่อว่าทักษะนี้ หลายคนมีปัญหา

แต่อย่าเพิ่งเสียใจไป ไม่ใช่แค่คุณเพียงคนเดียวหรอก เพราะคนไทยทุกคนมีปัญหากับทักษะนี้ด้วยกันทั้งนั้น

ทำไม?

  • เพราะอ่านน้อย อยากเขียนได้ดี เราต้องอ่านมากๆๆๆๆ  อ่านกับเขียนเกิดมาเพื่อกันและกัน ถ้าไม่อ่านเยอะ ก็อยาหวังว่าจะเขียนได้ดี TT

การจัดกระบวนความคิด การจัดกระบวนความคิดในการเขียนคนไทย ไม่ได้แย่หรอก แต่ไม่ดี อาจเป็นเพราะโครงสร้างเรียงความของเราต่างกันกับทางตะวันตก จะมี หัวข้อที่ชัดเจน มีรูปแบบชัด ต้องเขียนตรงนี้ สรุปตรงนี้ แต่ เรียงความของไทย จะเหมือนวนไปวนมา (จงภูมิใจ เพราะการเขียนเรียงความของเราเหมือนคนอิตาลี) 55+

  • ภาษา บางครั้งเราท่อง Synonym ว่าคำนี้มีความหมายคล้ายกันใช้ได้เหมือนกันหมด แต่จริงๆ แล้วมันจะมีจุดที่แตกต่าง หรือเรื่อง Preposition…Verb นี้ใช้ in หรือ on นะ เป็นต้น

เราเคยอ่านการเขียนของคนไทยบ้างก็คือ เนื้อหาเรา เขียนเป็นภาษาไทยก็ยังวนไปวนมา พอแปลมาเขียนอังกฤษก็ยิ่งวนอีก ถ้าเราเขียนไดอารี่ตัวเอง จะวนเป็นปลาทวนน้ำก็คงไม่เป็นไร แต่ถ้าเขียนเรียงความที่ต้องส่งครู ต้องออกสู่สายตาชาวโลก สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการเรียงความคิด

ต้องเป๊ะๆ เลยว่า เราจะเขียนตรงนี้ๆๆ มีการเขียนโครงที่แน่นอน ตอนเราเขียนแรกๆ ก็จัดความคิดไม่ค่อยดี ซึ่งตรงนี้เป็นอะไรที่เราจะเข้าใจผิดเยอะ เวลาที่งานเขียนภาษาอังกฤษถูกวิจารณ์เรามักคิดกันอยู่ 2 อย่างว่า ภาษาอังกฤษเราไม่ดี หรือเนื้อหา  Idea ของเราไม่ดี

เพราะตอนแรก เราเขียน Essay เข้ามหาวิทยาลัย ก็คิดมากนะว่า เราเป็นคนไม่มี Idea ไม่มีความคิดสร้างสรรค์เลย แต่หลังจากคุยกับครูที่ช่วยแก้ Essay ให้ไปสักพัก เขาก็บอกว่า ไม่ใช่ว่าคุณคิดไม่ได้นะ แต่คุณเรียบเรียงความคิดไม่ได้ต่างหาก

เนื่องจากภาษาไทย เราว่าเกินครึ่งเวลาเขียนเรียงความ ก็ไม่เคยทำ Outline หรือ Mind map กันเท่าไหร่ใช่ไหม แต่ภาษาอังกฤษขั้นตอนนีี้สำคัญมากๆ เผลอๆ สำคัญมากกว่าการเขียนเสียอีก

การฝึกฝนในทักษะนี้ก็ยากพอๆ กับการพูด คือมันเป็นทักษะที่ออก ไม่ได้เข้า (งงป่ะ) คือการเขียนที่ดี ต้องมีคนมาแก้ มาชี้แนะให้ การฝึกคนเดียวจึงยาก แต่ก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย

ถ้าแนะนำก็คือ ให้เขียนไดอารี่เป็นภาษาอังกฤษ ตัวเราเองเขียนมาตั้งแต่ ม.4 คือเป็นภาษาอังกฤษล้วนเลยนะ ซึ่งจะช่วยได้นิด ตรงที่เราจะสามารถอธิบายความคิดความรู้สึกของตัวเราออกมาเป็นภาษาอังกฤษได้

แต่ก็อยู่ที่สไตล์ของแต่ละคน เพราะไดอารี่ของบางคนก็เพื่อเล่าว่าวันนี้ทำอะไร แต่บางคน(เรา) เอาไว้เขียนความรู้สึก ตอนแรกที่เขียนก็แบบ อธิบายความรู้สึกไม่ได้ คิดไทยออกแต่เขียนเป็นอังกฤษไม่ได้ แต่ตอนนี้กลับกัน (คือเขียนความรู้สึกเป็นภาษาไทยไม่ค่อยได้ มันจะเขินๆแปลกๆ)

หรือถ้าอยากเขียนเป็นภาษาอังกฤษสู่สายตาคนก็แนะนำให้ลองเขียนบล็อก ถ้าใช้ก็แนะนำให้ใช้ WordPress ไม่ก็ blogspot เพราะคนต่างชาติใช้ 2 อันนี้เยอะ อาจมีคนหลงเข้ามาอ่านบ้าง แต่ที่สำคัญคือต้องกล้าๆ เขียน เขียนไปเลยอย่าอาย

(ใครที่เขียนบล็อกอยู่ อยากให้เข้าไปอ่านบอกได้นะ เดี๋ยวจะตามไปจ้ะ)

4 ทักษะ เราก็คงแนะนำให้เท่านี้

สุดท้าย หากใครอยากเป็นเทพอังกฤษ เราก็คงบอกวิธีไม่ได้มาก เพราะตัวเองก็กำลังจะพยายามอยู่ แต่เราว่า เราอาจต้องเลือกว่าจะไปทางไหนด้วย อยากเป็นนักเขียน อยากเป็นนักแปล อยากเป็นนักพูด เราก็ต้องพัฒนาในส่วนนั้นกันต่อไป

ที่อยากฝากไว้คือ ภาษาก็เหมือนกับคน ถ้าเราอยากเก่ง อยากได้อะไรจากเขา เราก็ต้องให้เวลากับเขามากๆค่ะ

Advertisement

3 thoughts on “How to English : ทำไงให้เก่งอังกฤษ 2 Academic

  1. แล้วนิตยาสารแบบ Student Weekly นี่ถือว่า ok ไหมอ่ะ?

Comments are closed.

Create a website or blog at WordPress.com

Up ↑

%d bloggers like this: