เทคนิกการทำ SAT- Critical Reading

จริงๆ ในส่วนของการ SAT เราเคยเขียนมาเยอะแล้ว ทั้งเทคนิก หนังสือ ในลิงค์เก่าๆ สามารถดูได้เลย

วิธีสอบ SAT ให้ได้คะแนนสูงๆ (จากรุ่นพี่ฮาร์วาร์ด)

เทคนิก จากคนได้ SAT เต็ม (2400)

แนะนำ หนังสือ SAT

แต่วันนี้ จะมารวบรวมเทคนิก การทำ พาร์ท Critical Reading หรือพาร์ทที่มี Text ยาวๆ คาดว่าหลายคนคงมีปัญหากับส่วนนี้แน่ๆ ซึ่งเทคนิกแต่ละ ให้เลือกใช้แค่ข้อเดียวนะ ส่วนจะเป็นข้อไหน จริงๆ แนะนำว่าให้ลองทำให้หมด แล้วหาว่าเราเหมาะกับแบบไหนมากที่สุด

1. เรียบๆ 

แบบแรก คือ อ่านข้อความจนจบ จากนั้นก็มาอ่านคำถาม แล้วก็ตอบ เป็นอะไรที่ธรรมดามาก แต่ข้อเสียของวิธีการทำแบบนี้ก็คือ บางทีเราจะทำไม่ทัน เพราะใช่ว่าเจอคำถามแล้วเราจะตอบได้ซะเมื่อไหร่ บางทีต้องวนกลับไปอ่านอีกรอบ ซึ่ง SAT ให้เวลาเราแค่ ข้อละนาทีเท่านั้น (ยังไม่รวมเวลาฝน….)

แต่วิธีนี้ ก็ไม่ใช่ว่าไม่ดี เคยมีคนทำแล้วเขาก็ได้คะแนนสูงๆ แต่สำหรับคนไทย ที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 เราไม่ค่อยแนะนำเท่าไหร่

2. อ่านแบบมีจุดหมาย

เราทำแบบนี้แหละ

คือเราอ่านคำถามก่อน ว่าคำถามถามว่าอะไร จากนั้นก็ขึ้นไปอ่านบนข้อความบรรทัดนั้น แล้วก็อ่านคำตอบ แล้วก็ตอบได้ (ถูกผิดอีกเรื่อง55+) ซึ่งการอ่านแบบนี้ ทำให้เราอ่านข้อความแบบมีจุดหมาย ว่าที่ฉันย้อนขึ้นไปอ่านก็เพื่อตอบคำถามข้อนี้ ไม่ได้อ่านขำๆ Or reading for pressure lol.

3. เขียนคำถาม

ข้อนี้ คล้ายๆ กับข้อ 2 แหละ ก็คือ อ่านคำถาม จากนั้น คำถามจะเป็นอารมณ์แบบ ข้อ 12 ถามว่า บรรทัดที่ 7-8 ข้อความว่าอย่างนี้ หมายถึงอะไร บลาๆ วิธีการทำตามเทคนิกนี้คือ เขียนเลข 12 แถวๆ บรรทัดที่ 7-8 ทำให้หมดเลยทุกคำถาม จะใช้เวลาประมาณ 2-3 นาที (อย่างเร็ว) ต่อ Reading 10 กว่าข้อ

หลังจากเขียนหัวข้อคำถามเสร็จ ก็มาลุยทำเลย ก็อ่านแค่บรรทัดที่เรามาร์คไว้ ตาไม่ลาย อ่านแบบมีจุดหมาย แต่ข้อเสียของเทคนิกนี้คือ บางทีจะทำให้เราทำไม่ทัน รู้สึกเสียดายเวลา 2-3 นาทีที่เอาไปมาร์คใน บทความ สู้ลุยทำเลยดีกว่า (ของเราก็เลยกลายพันธ์จากเทคนิกนี้มาเป็น ข้อ 2 นั่นแหละ)

4. อ่านคำตอบก่อนเพื่อให้เข้าใจเนื้อเรื่อง

อันนี้เคยได้ยิน ตอนเรียนกวดวิชาสมัยคิดว่าตัวเองจะเอนท์ ไม่ดิ เขาต้องเรียกว่า Admission

วิธีทำคือ อ่านคำถามก่อนเลย แล้วก็อ่านตัวเลือกด้วย อาจใช้ได้กับข้อสอบอังกฤษของไทย เพราะบางคนบอกว่า แค่อ่านคำถามก็เข้าใจเนื้อเรื่องทั้งหมดแล้ว แต่กับ SAT มันไม่ใช่ คำถามมันแนวเดิมๆ คำตอบก็แนวเดิม ไม่แนะนำเท่าไหร่ เพราะคำตอบมันจะหลอกเยอะ อ่านแล้วเหมือนต้องมนต์ ถ้าไม่มั่นใจเนื้อหาจริงๆ มาเจอตรงนี้ ก่อนจะทำไม่ได้ สรุป ไม่แนะนำ

5. เขียนสรุป

อันนี้ก็ไม่แนะนำ เคยเห็นคนทำ แต่โคตรไม่เวิร์ค คือจะเขียนเพื่อ………

สรุป ไม่ต้องทำ หรอก มันเสียเวลา

เหมือนจะมีเทคนิก มาให้เยอะ แต่จริงๆ ทำข้อ 2 ดีสุดละ คอนเฟิร์ม แต่ถ้าใครเคยเรียนพิเศษที่ไหน แล้วเจอหรือได้ยินอะไร แปลกๆ มาแชร์กันได้นะ….ผ่านไป 1 ปี อาจมีอะไรแปลกออกมาเพิ่ม

ต่อไปนี้คือ เทคนิกที่ต้องใช้ ทุกคน บังคับ ว่าคนอ่านที่จะสอบ SAT ต้องทำตามสิ่งที่จะบอกต่อไปนี้ สำคัญมากๆ

  • อ่านตัวเอียงข้างบน จริงๆ เขามีชื่อเรีอกเฉพาะนะ แต่เราลืม TT จะทำให้เราพอเข้าใจบ้าง ว่าข้อความเรื่องที่จะอ่านเกี่ยวกับอะไร

  • ให้ทำ จาก คำถาม Specific to general คือคำถามที่ถามประมาณ คำนี้ บรรทัดนี้เกี่ยวกับอะไร ให้ทำก่อน ส่วนคำถามที่ถามเกี่ยวกับ บทความเรื่องนี้ ผู้เขียนมีอารมณ์แบบใด บทความเรื่องนี้สนับสนุนข้อไหน อะไรแบบนี้ ทำทีหลัง จำได้ไม่ต้องอ่านวนไปวนมา……

เทคนิกก็มีประมาณนี้แหละค่ะ พยายามนะ พาร์ทนี้เหมือนยากที่สุด (ก็ยากจริงๆแหละ ) เดือนนี้ เราอาจไม่ได้อัพบล็อกนี้อีกเลย TT เรียน (ญี่ปุ่น) หนักมาก อยากจริงจัง อยากรู้ว่าถ้าเราพยายามแล้ว ผลออกมาจะเป็นยังไง

(แล้วก็ Coursera ด้วย เอาเวลาชีวิตฉันไปหมดเลยกับการนั่งอ่านหนังสือ TT)

Comments are closed.

Create a website or blog at WordPress.com

Up ↑

%d bloggers like this: