โพสนี้เป็นโพสที่ 100 แล้ว (เย้ๆ) ภายในเวลาเกือบ 1 ปี เขียนไปได้ 100 โพสพอดี ซึ่งโพสนี้จะเป็นโพสสุดท้ายของเดือนนี้ด้วย เพราะเราจะหนีไปเที่ยวแล้ว (ฮู้..) กลับมาเดือนหน้า มาฉลองวันเกิดบล็อกกัน!!
วันนี้ เรามาพูดถึงเรื่องการใช้ Flashcards สำหรับจำคำศัพท์และเทคนิกนิดๆหน่อยๆกันดีกว่า…..
ซึ่งเรื่องเกี่ยวกับความจำ/การจำหนังสือ-คำศัพท์ เคยโพสไว้ในโพสก่อนๆแล้วดังนี้
เทคนิกการท่องศัพท์จากรุ่นพี่ ฮาร์วาร์ด
เผื่อใครยังไม่รู้จักเจ้า Flashcard ก็มาทำความรู้จักกันก่อน
Flashcard ก็คือบัตรคำนั่นเอง เด็กนักเรียนเมกา จะนิยมใช้กันมากทั้งในโรงเรียนแล้วก็มหาลัยเลย เพื่อนเราที่เคยไปแลกเปลี่ยนบอกว่าเห็นทำกันทีเป็นปึกๆ แล้วเขาก็ไม่ใช่แค่จดคำศัพท์ไว้ท่องอย่างเดียว บางคนก็เขียนสูตรเคมี สูตรเลขหรือแม้แต่ วิชาสังคม ก็เขียนคำที่เป็นหัวใจหลัก (+ความหมาย/องค์ประกอบ ไว้ด้านหลัง)
พอว่างเมื่อไหร่ก็หยิบขึ้นมาท่อง
จริงๆ ก็มีขายนะ แต่แพงอ่ะ.
สำหรับวิธีการทำก็ง่ายแสนง่าย ใช้กระดาษเอ4 มาตัดแผ่นนึงจะได้ 8 หรือ 16 แล้วแต่ว่าเราอยากให้เจ้า Flashcard มีขนาดเท่าไหร หรือถ้าอยากให้สวยก็ไปซื้อกระดาษสีแผ่นใหญ่ๆ มานั่งตัดระหว่างดูละคร…..ประหยัดเวลาได้
ตัดเสร็จแล้วก็มี 2 วิธีคือ ใช้หนังยางมัดเป็นปึกๆ หรือเจาะรูแล้วห้อยห่วงทองซึ่งแบบหลังจะไม่หาย พกพาสะดวก แต่ถ้าจะใช้สำหรับท่องคำศัพท์แนะนำให้มัดเป็นปึก เพราะเราจะได้สลับบัตรคำเหมือนสับไพ่ได้….แล้วถ้าคำไหนจำได้แม่นๆแล้วก็เอาออกไปไว้อีกกอง
ที่สำคัญคือ บางทีเวลาที่เราจำคำศัพท์ เราจำเรียงคือ จำได้ว่าคำแรกความหมายคืออันนี้ คำต่อไปความหมายคืออันนั้น (โดยที่ยังไม่ได้ดูเลย) ถ้าใช้บัตรคำก็จะช่วยได้ตรงที่ว่า เราจะสลับตำแหน่งคำพวกนี้ได้….แล้วเราก็จะจำตัวคำศัพท์ได้จริงๆ ไม่ได้จำได้จากตำแหน่งที่มันอยู่
ซึ่งส่วนตัวก็ใช้วิธีนี้ตอนท่องศัพท์ SAT ก็ช่วยได้อยู่ เพราะถ้าจำจากชีทที่เป็นปึก เราจะจำตำแหน่งได้เลยว่าคำแรก ความหมายคือผิดปกติ คำต่อไปความหมายคืออยู่ติดกัน ……..
แต่ ก็ต้องจำไว้ว่า การใช้บัตรคำเป็นแค่ “ตัวช่วย” ให้เราำจำคำศัพท์ได้แม่นขึ้น/ง่ายขึ้น แต่ถ้าเราเขียนเสร็จแล้วก็เก็บไว้ในตั้งไม่หยิบมาท่อง สุดท้ายก็จำไม่ได้อยู่ดี
ซึ่งการใช้บัตรคำ บางคนก็ชอบ บางคนก็ไม่ แล้วแต่คน เมื่อก่อนเราก็ชอบ แต่ตอนนี้เรียนญี่ปุ่นก็ไม่ได้ใช้ …..แล้วแต่อารมณ์ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ท่อง ท่อง ท่อง ให้ได้
ที่สำคัญคือต้อง อ่านมากๆ
มาว่าักันต่อถึงการจำคำศัพท์ดีกว่า
มีหลายคนนะ ที่บอกว่าการจำคำศัพท์ด้วยบัตรคำทำให้จำไม่ได้นาน…..เพราะสิ่งที่สำคัญคือเราต้องได้ใช้ ได้ทวนตลอด ตอนนี้ศัพท์ SAT ผ่านไปปีเดียวก็ลืมแล้ว…เสียดายเหมือนกันแต่ขี้เกียจท่องอ่ะ
– อ่านเยอะๆ และหลากหลาย
การเจอคำศัพท์ที่เรารู้สึกคุ้นๆจากการอ่าน สนุกกว่านั่งท่องศัพท์เฉยๆเยอะ ที่สำคัญถึงเราจะจำไม่ได้ทันที ถ้าอ่านบ่อยๆ ก็จะจำได้ในที่สุด เคยมีผลวิจัยออกมาว่า ถ้าเราได้ทำ/เจอ สิ่งเดิมๆถึง 20 ครั้ง (โดยไม่ได้ตั้งใจจะจำ) เราจะจำได้เองโดยอัตโนมัติ
ที่สำคัญ คำศัพท์จากการอ่าน เดาง่ายก็มาโดดๆ เยอะ ซึ่งเราก็อาจทำได้ดังนี้คือ
- อ่านบทความ ขีดเส้นใต้คำที่ไม่เข้าใจ
2.เปิดดิก แล้วก็จดคำศัพท์นั้นลงไปในสมุด พร้อมความหมายและตัวอย่างประโยค สำหรับภาษาอังกฤษไม่เคยทำ แต่ส่วนตัวเวลาเรียนภาษาเกาหลี ก็จะจดประโยคตัวอย่างลงไปตลอด เพราะบางคำถึงรู้ความหมายแต่ก็ใช้ไม่ถูก
- อ่านบทความอีกที เข้าใจมากขึ้นแน่นอน
-
ฝึกเขียนคำศัพท์ใหม่ลงกระดาษ ช่วยได้นะ แต่ต้องเขียนแบบ by heart ไม่ใช่มือเขียน ตาดูทีวี กันนี้ก็ไม่ได้ (วิธีนี้ ส่วนตัวไม่ได้ใช้….ขี้เกียจ)
-
อ่านบทความอีกรอบก็ดี แล้วก็เชคว่าเราเข้าใจทุกคำป่ะ
หรืออีกวิธีก็คือ ถ้าเราเขียนไดอารี่ มีคนคุยเป็นภาษานั้นอยู่แล้ว ก็พยายามใช้ศัพท์ใหม่ที่ได้เรียนดู วันนี้เราเขียนคำว่าวิวทิวทัศน์เป็นภาษาญี่ปุ่นในไดอารี่ ไป 3 รอบ จำได้เลย โดยไม่ต้องท่อง…..