ปัญหานี้ จริงๆ เคยเป็นปัญหาโลกแตกของเราค่ะ และเชื่อว่าคงเป็นสำหรับอีกหลายๆ คนด้วย โดยเฉพาะคนที่อยากเรียนนิเทศเอกวารสาร ยิ่งฟังดูคล้ายอักษรไปอีก…
โพสนี้เลยมาขอเล่า (แถมโฆษณาตอนท้าย) ให้ฟังถึงความแตกต่าง การเลือกให้ฟังนะคะ บอกไว้ก่อนว่าเราไม่เคยเรียนทั้งสองคณะที่ไทย ไม่ได้รู้ความแตกต่างชนิดทุกรูขุมขนค่ะ (แต่เพื่อนๆ ส่วนมากก็อยู่กันสองคณะนี้แหละ)
เลือกอักษรก่อน ไม่ได้ค่อยนิเทศ
เพราะเหมือนอักษรจะคะแนนสูงกว่านิเทศหน่อย ซึ่งยังไม่รู้ว่ายังเป็นอยู่ในปัจจุบันไหม อยากบอกว่า มันเป็นการเลือกที่ถูกตามหลักคะแนน แต่เราอาจไม่มีความสุขก็ได้ ถ้ามันไม่ใช่สิ่งที่เราอยากเรียนจริงๆ
เนื้อหาการเรียนต่างกันแค่ไหน
อักษร จะเน้นเรียนไปทางเอกตัวเอง (แยกเอกตั้งแต่ปีสอง) เอกภาษาอะไร ก็เรียนภาษานั้น ในคณะนิเทศที่ไทย ต้องเรียนพื้นฐานของทุกอย่าง ตั้งแต่ทีวี ข่าว พีอาร์ โฆษณา เลือกเอกตอนปีเอกนู่น จึงเห็นว่าเด็กจบนิเทศทำงานข้ามเอกกันเยอะมาก จบทีวีมาทำ พีอาร์ จบพีอาร์มาทำนิตยสารเป็นต้น
เราเคยไปถามอาจารย์ ชไมพรที่เป็นนักเขียนว่า สองคณะนี้มันต่างกันยังไง หนูเลือกไม่ถูก อาจารย์ให้ทริกมาว่า อักษรจะเน้นเรียนของคลาสิก เช่นวรรณกรรม ภาษา ฯลฯ ในขณะที่นิเทศจะเรียนของใหม่ๆ ตามสมัยนิยม เช่นโฆษณา ทีวี ทำข่าว ฯลฯ เหมือนเป็น Class Vs Modern นั่นเอง
Lifestyle เด็กสองคณะต่างกันแค่ไหน
ทั้งสองสายชอบความสุนทรีย์ในด้านต่างๆ คล้ายๆ กัน แต่เด็กอักษรเหมือนเรียนหนักกว่า อ่านหนังสือเยอะกว่านิเทศมาก (เท่าที่สังเกตมานะ) ส่วนนิเทศเราว่ากิจกรรม กับ ชิ้นงานน่าจะเยอะ ด้วนสายอักษรมันจะเป็นแนววิชาการ (เนื้อหาเยอะ) ส่วนนิเทศ เวลาสมัครงานมันต้องเน้นพอร์ตอยู่แล้ว ฉะนั้น เราว่าชิ้นงาน กับเรากระตือรือร้นหาที่ฝึกงาน ฯลฯ มากกว่านะ
อยากทำนิตยสาร/อยากเป็นนักเขียน ควรเรียนอะไรดี
จากประสบการณ์แล้ว เรียนอะไรก็ได้ค่ะ ใดๆ ในโลกเลย จะข้ามสายไปเรียนเภสัช บัญชี เรียนอักษรหรือนิเทศจะได้เปรียบนิดดดนึง ตรงที่ว่าจะได้ทำงานพวกเขียนๆ ในห้องเรียนก็เอาไปใส่พอร์ตได้ (แต่ถ้าไม่ได้เรียนในห้องไปหาเอาข้างนอกก็ได้เนอะ) และ อาจได้รู้จักเรื่องราวในวงการหนังสือ/นิตยสาร ที่เหลือก็ไม่ต่างกันมาก
ตอนแรกเราก็ไม่เช่ื่อนะ ว่าแบบเฮ้ย จริงดิ เรียนไรก็ได้ แต่เพราะทุกวันนี้เป้าหมายชีวิตคงไม่ได้เป็นนักเขียนแล้ว ก็เลยมาเรียนนิเทศ (เพราะถ้าอยากเป็นนักเขียน จะไปเรียนอย่างอื่นค่ะ 55) การเรียนสายอื่นที่เราสนใจ มันจะทำให้เรามีความรู้เพิ่มขึ้นที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในการเขียน การรู้วิธีการเขียนที่ดี ไม่ได้สำคัญเท่าเนื้อหาในการเขียนค่ะ (ยกเว้นจะแต่งนิยาย แต่มันก็ต้องมีจินตนาการเหมือนกัน)
สรุปคือ เรียนอะไรก็ได้ค่ะ ที่สนใจ ยกเว้นชีวิตนี้ไม่มีอะไรที่สนใจละ ก็ค่อยมาเรียนอักษรหรือนิเทศนะๆ ส่วนมากนักเขียนดังๆ จบอะไรกัน เท่าที่เราสังเกต พวกเขียนนิยายจะจบไปทางวรรณกรรมค่ะ (สายอักษร) ส่วนพวกกองบรรณาธิการ นักข่าวจะจบนิเทศ
แต่ก็ไม่ได้เสมอไป เราจะยกตัวอย่าง นักเขียนดังๆ ที่ไม่ได้จบตรงสายให้ฟังนะ พี่ปุ๊ สำนักพิมพ์ดวงตะวัน (นิยาย) จบรัฐศาสตร์ พี่ก้อง ทรงกลด (บก. A day) จบเศรษฐศาสตร์ กองบก. A day จบหลากหลายมาก ตั้งแต่ บัญชี เอกจีน เอกฝรั่งเศษ เภสัช พี่เอ๋(บก. Cleo) จบรัฐศาสตร์ อย่างหลากหลายอ่ะ
(เพิ่มให้) อยากเป็นนักเขียนที่ดี ต้องมีอะไรบ้าง
หัวใจสามอย่างคือ ข้อมูล (เนื้อหาดี) เขียนเป็นระบบ (อ่านรู้เรื่ือง) และ ภาษาสวย สิ่งที่จะทำให้งานตรึงใจหรือไม่ ความคิดสร้างสรรค์ก็สำคัญ ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่าการ Forward Idea เหมือนเรามีข้อมูลอยู่แค่นี้ เราจะต่อยอดมันออกไปอีกได้แค่ไหน (โดยที่ยังอยู่ในคอนเซปต์ที่เราจะเขียน)
ถ้าทำได้ ก็เป็นนักเขียนที่ดีแน่นอนค่ะ
จบอักษร นิเทศไปทำงานอะไร
ตอบนิเทศก่อน ส่วนมากก็เห็นทำตามสายนิเทศนั่นแหละ หรือไม่ก็หลุดออกไปทำอย่างอื่น เช่นเปิดร้านกาแฟ ทำเสื้อผ้า หรือมาผัดกับข้าวอยู่ในครัวแถวบอสตัน 55 ส่วนมากเด็กนิเทศเรียนจบจะรู้ว่าตัวเองอยากทำในสายไหนของนิเทศ พวกไม่รู้ก็จะลองไปเรื่อยๆ จนเจอ แต่สุดท้ายส่วนมากก็ยังอยู่ในนิเทศนั่นแหละ
ส่วนอักษร ถ้าไม่เรียนต่อหรือเป็นล่าม/หรือมาทำสายหนังงสือ ก็จะเป็นปัญหาโลกแตกมาก คือเราเคยถามเด็กอักษรเยอะมาก ว่าเนี่ย จบแล้วจะทำอะไร ทุกคนก็จะแบบ อย่าถามได้ป่ะ ไม่รู้เหมือนกัน TTT อ้าว ตกใจเลย 55
อักษรเป็นสายที่เหมือนถ้าจะไม่ทำสิ่งที่บอกมาสามอย่างแรก ต้องคิดต่อยอดเอาเอง ว่าจะเอาความรู้ที่มี ไปทำอะไรต่อ ด้วยความที่มันเป็นสาย Liberal art อ่ะค่ะ
ทำไมพาร์เฟต์ไม่เรียนอักษร
ยอมรับอักษรมันเคยเป็นช้อยแรก สำหรับเรา อาจเพราะมันดูดี คะแนนสูง ฯลฯ อะไรก็แล้วแต่ ตอนนั้นอยากเอก Eng ไม่ก็ ญี่ปุ่น ส่วนสาเหตุที่ตัดทิ้ง เพราะเราไม่ชอบของคลาสิกค่ะ… เราไม่ถูกกับพวก วรรณกรรม เท่าไหร่ด้วย… ส่วนญีปุ่นชอบนะ แต่ที่ตัดทิ้งไปเพราะ เรากลัววรรณกรรมอีกเช่นกัน กับเด็กเอกญี่ปุ่นด้วยกัน เราว่าเราต้องเข้ากับเขาไม่ได้แน่ๆ เลย (เพราะเราไม่ดูมังงะ อนิเมะ นักร้องญี่ปุ่นยังไม่ค่อยรู้จักเลย)
อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ เรามองว่าเราเรียนญี่ปุ่นเองเป็นความสามารถพิเศษดีกว่า ก็เลยไปลองเรียนอะไรใหม่ๆ ที่อยากเรียนดีกว่า
ทุกวันนี้ เราเรียนเอกพีอาร์/โฆษณา ค่ะ เป็นเอกควบสองอย่างเลย (เดี๋ยวค่อยแยกตอนปีสาม) แต่ไม่ต้องเรียนพวกทีวี ข่าว วิทยุ ค่ะ ซึ่งเป็นอะไรที่งงตัวเองมาก ว่ามันมาถึงจุดนี้ได้ยังไง คือเรามุ่งมั่นกับการเรียนสายนิตยสาร (วารสาร) มาก มานานเป็นหลายปีอ่ะค่ะ (นับจริงๆ ว่าอยากทำงานกองบรรรณาธิการ จนถึงวันนี้ก็ 8 ปีแล้วค่ะ … ตั้งแต่ประถม) แต่มาถึงจุดหนึ่ง มันก็เหมือนพอละ อยากลองทำอะไรใหม่ๆ ไม่ใช่ไม่ชอบนะ เพราะสุดท้ายอาจกลับไปทำนิตยสารเหมือนเดิมก็ได้
เหตุที่ต้องมาเรียนพีอาร์ก็เพราะเป็นสายเดียวที่เราเรียนได้ที่เมกา (มั้ง55) คือแบบ จะให้ไปเขียนสู้เขาก็ไม่ไหว ภาษาก็ไม่ได้ดี แล้วอีกอย่างหนึ่งคือ อยากลองอะไรใหม่ๆ เรามองว่าคนที่มีความรู้มาก/กว้างเท่าไหร่ ก็จะเขียนได้ดีเท่านั้น ที่สำคัญคือ เรามองการเขียนว่าเป็นความสามารถอย่างหนึ่ง(ที่เด่นในตัวเรา แต่ด้อยมาก ถ้าเทียบกับพวกคนที่ชอบเขียนด้วยกัน) แทนที่เราจะหากินกับการเขียน เอาการเขียนมาเป็นตัวสนับสนุนเราดีกว่า
แต่จริงๆ ก็ชอบนิตยสารนะ ชอบตรงที่ได้ไปสัมภาษณ์คนนี้แหละ TT อยากทำสัมภาษณ์อีกจัง…
มุมโฆษณา สำหรับคนที่ยังไม่รู้ว่าจะเรียนนิเทศ (เอกวารสาร) หรือ อักษรดี เขียนก็ชอบ นิยายก็ใช่ นิตยสารก็ชอบ วรรณกรรมก็รัก เราขอแนะนำโปรแกรมที่ มหาวิทยาลัยเราค่ะ เป็นคณะ/เอก ที่ชื่อว่า Writing, Literature and publishing แปลได้ว่า การเขียน วรรณกรรมและวารสารศาสตร์ เป็นการรวมสามสิ่งในเอกเดียว ก็จะได้เรียนทุกอย่างค่ะ เป็นคณะที่มีที่เดียวในเมกา และในโลก (มั้ง) แนะนำให้มานะคะ 55
สวัสดีค่ะ
พี่ค่ะพอดีมีเรื่องจะปรึกษา คือหนูจะมาเรียนต่อที่นี้ปีหน้าแต่วันนี้พอมาลองเรียนดูจริงๆภายในไฮคูลไม่ได้สนุกแบบที่คิดเลยค่ะ เป็นโรงเรียนเล็กๆที่เนบาสก้าค่ะ
เพื่อนก็ดูไม่ค่อยจะสนใจเราเท่าไหร่ มีคนเอเชียในห้องสองสามคน หยิ่งมากเลย (แอบเสียใจ555) แต่เรื่องเรียนหนักกว่าแทบจะไม่รู้เรื่องเลยค่ะ คิดว่าภาษาอังกฤษเราโอเคระดับนึงแล้วน้ะ พอมานี่ งง เลยค่ะ -3-
หนูมาเรียนดีไหมค่ะ