บางทีในโพสเราจะพูดทับศัพท์เยอะ ก็มาอัพไว้ในนี้แล้วกันนะ
*** ที่มีลิงค์คือไปอ่านเพิ่มตามลิงค์นั้นได้เลยค่ะ***
การสมัคร
Accepted (student)– (เด็กนักเรียนที่) มหาวิทยาลัยตอบรับ
ACT การสอบอย่างหนึ่ง ในแทน SAT ได้
Admission – การรับสมัคร
AP การสอบ คล้ายๆ SATII แต่ยากกว่า ทำให้เขาเห็นว่าเราสนใจในวิชานั้นๆ เนื้อหาการสอบเป็นวิชาระดับมหาวิทยาลัย
Certificate of finance หลักฐานการเงิน ต้องขอจากธนาคาร โดยมีเงินขั้นต่ำคือพอจ่ายค่าการศึกษา+กินอยู่เป็นเวลา 1 ปี
Conditional acceptance การตอบรับแบบมีเงื่อนไข เช่นต้องสอบ Toefl ให้ถึงเท่านี้ ต้องมาเรียนภาษา
Defer – มีความหมาย 2 อย่าง คือ 1. เด็กที่สมัครในรอบ ED ได้รับ Defer เพื่อเลื่อนให้ไปพิจารณาในรอบ Regular 2. เราเป็นคนตัดสินใจเลื่อนยังไม่เข้ามหาวิทยาลัยในเทอม/ปีนั้นๆ คือเรา Gap Year นั่นเอง
Early decision (ED) – การสมัครในรอบก่อน…..อธิบายไม่ถูก แต่เป็นแบบ Blind คือถ้าได้ต้องเข้าเรียนที่นี่เลย การสมัครรอบนี้ส่วนมากจะไม่ได้การเสนอทุนการศึกษา สมัครได้แค่ที่เดียว
Early Decision (EA) – การสมัครในรอบก่อน…..อธิบายไม่ถูกเช่นกัน แต่ไม่บังคับ เราสามารถเลือกได้ว่าจะเข้าเรียนที่นี่หรือไม่ สมัครได้หลายที่ (มหาลัยจะเป็นคนบอกว่าเขาเป็น EA or ED)
EC – กิจกรรมนอกห้องเรียน สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับการสมัครเรียนเมืองนอก
Financial Aid ทุกวันนี้ก็ยังงงๆกับมันว่าต่างชาติสมัครได้หรือเปล่า (เหมือนจะไม่ได้เนอะ) เขาให้เฉพาะเด็กเมกัน ต้องสมัครแยกต่างหาก บางครั้งเรียกกันย่อๆว่า FA
Letter of recommendation จดหมายจากอาจารย์ มีฟอร์มให้โหลด ให้ครูเขียน ใส่ซอง เซ็นทับซอง แล้วส่ง
Regular (round) การสมัครในรอบปกติ ส่วนมาก เน้นว่าส่วนมาก หมดเขต วันปีใหม่
Reject (student) การตอบปฏิเสธ
Rolling (round) รอบการรับที่เหลือ คือเขามีพื้นที่เหลือ….บางยูมีเปิดรับรอบนี้ แต่บางที่ก็ไม่มี…พวกยูท็อปๆ ไม่มีนะคะ
SAT การสอบที่ต้องใช้สำหรับคนที่สมัครระดับปริญญาตรี
SATII (subject test) การสอบที่ใช้สำหรับบางมหาวิทยาลัย ส่วนมากเป็นมหาวิทยาลัยท็อป 20 แต่ก็ควรสอบไว้ อาจได้เครดิตและเป็นการแสดงความสนใจในวิชานั้นๆ
Scholarship หมายถึงทุน เขาชอบมีให้เลือกตอนที่เราสมัคร ถ้าเลือกไปก็ต้องทำใจนิดนึง ว่าเราจะมีโอกาสได้ที่นั่นน้อยลง…..แนะนำให้เลือกมหาลัยที่เราค่อนข้างชัวร์ว่าเราจะได้
Transfer (student) นักเรียนที่ย้ายมาจากมหาวิทยาลัยอื่น
Waiting list ได้รับเป็นตัวสำรอง ส่วนมากสัก ไม่ถึง 10 เปอร์เซนต์ที่ได้เรียก….
คณะ/วิชาเอก
Communication Disorder เกี่ยวกับการสื่อสารที่ผิดปกติ เรียนภาษามือ (American sign??) คนเรียนเยอะอยู่ จบมาน่าจะทำงานตามสถานพยาบาล
Communication Studies การสื่อสารมวลชน มักแยกย่อยลงไปอีกเช่น Political communication จบแล้วไปทำงานเกี่ยวกับการเมือง….
International Relationship ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ… IR
Journalism ภาษาไทย…..ไม่รู้ แต่จบออกมาเป็นนักข่าว มักมีแยกย่อยลงไปว่าจะเป็น Broadcast (ทางทีวี) Radio หรือ print (สิ่งพิมพ์)
Political Science รัฐศาสตร์
Public Relation (PR) ประชาสัมพันธ์
มหาวิทยาลัย
College – มหาวิทยาลัยที่มีลักษณะค่อนข้างเฉพาะทาง มีขนาดเล็ก บางทีก็แยกออกมาจาก University เช่น Harvard College ถ้าเข้าไปเรียน จบก็ได้วุฒิป.ตรีโท เหมือนมหาวิทยาลัย
Community college – วิทยาลัย ชุมชน มีแค่ 2 ปีแล้วจะได้อนุปริญญา ถ้าอยากได้ป.ตรี ต้อง Transfer ไปมหาวิทยาลัยอื่น ค่าเรียนถูก
Liberal art college (LACS) อธิบายไม่ค่อยถูก เพราะเราองก็ยังไม่แน่ใจ…..
– Private University มหาวิทยาลัยเอกชน ค่าเรียนแพง
– Public University มหาลัยรัฐ ค่าเรียนถูก (กว่าหน่อย) แต่มีเด็กในรัฐเยอะ ค่าเทอมมี 2 ราคา เราคนไทยต้องจ่ายอันที่แพง
อื่นๆ
Board เกี่ยวกับอาหาร บางทีเวลาค่าเทอมเขาจะเขียนว่า Room and boarding หมายถึงค่าที่พักและอาหารนั่นเอง
Campus พื้นที่รอบโรงเรียน หรือมหาวิทยาัลัย (ภาษาไทยคือวิทยาลัยเขต ??)
Department คณะ
Dining Hall ส่วนมากโรงอาหารของ Dorm จะใช้คำนี้
Dormitory หอพัก บางทีก็ Resident hall (housing ก็มี)
Elective วิชาเลือก ไว้เก็บหน่วยที่เหลือ
Facility อุปกรณ์ เช่น Dorm Facility ก็คือพวกเครื่องซักผ้า ทีวี เป็นต้น
Faculty แปลว่าอาจารย์ (คนไทยใช้ว่าแปลว่าคณะ??)
Financial Aid การช่วยเหลือทางการเงิน เป็นเหมือนทุน การสมัครยุ่งยากอยู่ เราไม่เคยสมัคร เลยไม่ค่อยรู้ แต่เหมือนเขาจะให้เฉพาะเด็กอเมริกันหรือเปล่า ไม่แน่ใจ
General education วิชาพื้นฐาน แต่ละมหาลัยจะบังคับ เช่นต้องลงวิทย์ 1 ตัว (วิทย์ไรก็ได้ ดาราศาสตร์/ชีวะ/โลก/เคมี) อังกฤษ 2 ตัว
Major วิชาเอก
Merit scholarship ทุนการศึกษาสำหรับเรียนดี
Minor วิชาโท (บังคับทุกคนต้องมี เรียนนอกสาขาได้ เช่น Major ของเธออาจเป็นชีวะ แต่ Minor เป็นภาษาอังกฤษ)
Orientation ปฐมนิเทศผสมกับรับน้อง คือการ Orientation จะไม่เป็นพิธีการมากเท่าปฐมนิเทศ(ของไทย) แต่ก็เบากว่ารับน้องหน่อย(ไม่ได้มีละเลงแป้ง บังคับ ทำโทษอะไรแบบนั้น)
Room & Board ค่ากินอยู่
school แปลอย่างหนึ่งได้ว่าโรงเรียน อีกความหมายคือ คณะ(สำหรับป.โท-เอก) เช่น Harvard Law school, medical school.
Tuition ค่าเทอม ส่วนมากจะเรียกรวมกันว่า Tuition & Fee (ค่าธรรมเนียม)
campus นี่น่าจะเป็นที่พักนะ